Wednesday 27 April 2011

สายพันธ์ปลาทองที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทย

ปลาทองมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น ต่อมาถูกนำไปเลี้ยงในยุโรปเมื่อศตวรรษที่ 17 และถูกนำไปเผยแพร่ในอเมริกา ในศตวรรษที่ 19 ชาวจีนและชาวญี่ปุ่นรู้จักผสมพันธ์ปลาทองมานานแล้วและได้ปลาทองลูกผสมที่น่าสนใจ มีสีหลากหลายตั้งแต่สีแดง สีทอง สีส้ม สีเทา สีดำและสีขาว แม้กระทั่งปลาทองสารพัดสีในตัวเดียวกัน ปลาทองมีชีวิตอยู่ตามแหล่งธรรมชาติจนกระทั่งมีชาวจีนบางคนได้จับมาเลี้ยงตามบ่อเพราะดูหน้าตาสวยดี สีสันแปลกตา สร้างความเพลิดเพลินใจได้เป็นอย่างดี จึงเลี้ยงสืบต่อกันมาเรื่อย ๆ ทำให้มีการแปรผันผันแปร และพัฒนาเรื่อยมา ประกอบกับความนิยมเลี้ยงที่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ปลาทองที่เลี้ยงมีรูปร่างหน้าตาเปลี่ยนแปรไป เช่น แต่เดิมปลาทองจะหาอาหารตามบ่อน้ำธรรมชาติเพื่อเลี้ยงชีวิตซึ่งต้องออกเรี่ยวออกแรง ไขมันส่วนเกินก็ไม่มี หุ่นก็เพรียวลม ครั้นย้ายมาอยู่ตามบ่อเลี้ยง อาหารปลาก็ถูกนำมาเสริฟกันถึงขอบบ่อ แถมเสริฟเป็นเวลาซะด้วย ทำให้ปลาทองบางตัวพุงป่องดูอ้วนตุ้ยนุ้ยขึ้นและหากลักษณะต่างๆดังกล่าวเกิดเป็นที่ประทับใจมนุษย์หรือคนดูคนชมว่าสวยแล้ว ก็จะถูกขุนขึ้นไปเรื่อยๆตามสูตร ปลาทองถูกมนุษย์เลี้ยงมาตั้งแต่อดีต ประมาณ พ.ศ. 1161-1450 หรือนับเป็นพันปีมาแล้ว ปลาทองในสภาพธรรมชาติที่ไม่ได้ถูกมนุษย์นำมาเลี้ยงนั้นก็ได้พัฒนาตัวเอง ทำมาหากินตามธรรมชาติ สืบทอดสายพันธ์มาจนถึงปัจจุบัน ก็แทบจะเป็นคนละปลาเดียวกันกับปลาทองของวันนี้เลย เพราะเมื่อพิจารณาดูจะพบว่าปลาใน ปลาตะเพียนทั้งหลายต่างก็อยู่ในเทือกเขาเหล่าตระกูลเดียวกันกับปลาทอง คือ FAMILY CYYPRNDAE

ปลาทองสิงห์ตาลูกโป่ง

6. ปลาทองสิงห์ตาลูกโป่ง (Bubble eyes goldfish)
มีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศจีนญี่ปุ่นเรียกว่า ซุอีโฮกัน ลำตัวและทรงคล้ายสิงห์จีน แต่ที่เบ้าตามีถุงน้ำขนาดใหญ่ดูคล้ายลูกโป่งติดอยู่ที่บริเวณใต้ตา ถุงน้ำใต้ตาปรกติจะโปร่งแสงและมีขนาดใกล้เคียงกัน ไม่มีครีบบนหลังปลา มีสีแดงและขาวแซมแดง

ปลาทองออรันดาหัววุ้น

7. ปลาทองออรันดาหัววุ้น (Dutch lionhead)
ญี่ปุ่นเป็นผู้เพาะพันธุ์ขึ้นมาใหม่ และเรียกว่า ออรันดาชิชิกาชิระ วุ้นบนส่วนหัวของปลาจะมีมาก และมองเห็นเป็นก้อนกลม มีครีบบนหลังปลา และครีบหางกางแผ่กว้างยาวกว่าปลาสิงห ์มีสีแดงและขาวสลับแดง


ปลาทองริวกิ้น

8. ปลาทองริวกิ้น (Ryukin)
เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นปลาที่มีรูปทรงและสีสันสวยงาม มีสีแดง ขาวสลับแดง และหลายสี ซึ่งนิยมเรียกว่าปลาริวกิ้น 5 สี เวลาว่ายน้ำท่าทางสง่างาม ลำตัวอ้วนสั้นเกือบเป็นทรงกลมหน้าแหลม โหนกหลังสูง ส่วนหัวไม่มีวุ้น เกล็ดหนา


ปลาทองตาโปน
9. ปลาทองตาโปน (Telescope eyes goldfish)
ญี่ปุ่นเรียกว่า เดเมคิน จีนนิยมเรียกว่า dragon eyes มีลักษณะเด่นคือมีลูกตายื่นออกไปด้านหน้าทั้งสองข้าง รูปทรงคล้ายปลาริวกิ้นมาก พันธุ์ที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทยคือ ปลาทองตาโปนญี่ปุ่น มีสีแดงตลอดทั้งตัว ญี่ปุ่นเรียกว่า อะคาเดเมะคิน (akademekin) ปลาทองตาโปนห้าสีมีสีแดง ดำ ขาว ส้ม และฟ้า ผสมกันในปลาตัวเดียว ญี่ปุ่นเรียกว่า ซันโดกุเดเมะคิน ปลาทองตาโปนพันธุ์เล่ห์ มีสีดำสนิททั้งตัว ญี่ปุ่นเรียกว่า คุโรเดเมะคิน และสามารถแบ่งออกเป็นสายพันธุ์ย่อยได้อีกตามลักษณะทรงของลำตัวและหาง คือ ลักเล่ห์กระโปรง ลักเล่ห์ตุ๊กตา ลักเล่ห์ควาย และลักเล่ห์หลังอูฐ

ปลาทองเกล็ดแก้ว
10. ปลาทองเกล็ดแก้ว (Pearl scale goldfish)
ประเทศไทยสามารถเพาะพันธุ์ปลาเกล็ดแก้วหน้าหนู ส่งไปขายทั่วโลก ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นปลาทองที่มีลักษณะแตกต่างจากปลาพันธุ์อื่นๆ มีทรงอ้วนกลมกว่าพันธุ์ริวกิ้น เกล็ดตามลำตัวปลาเกือบทั้งหมดหนาและแข็งโปนออกมาจากลำตัว มี 3 สายพันธุ์ได้แก่ เกล็ดแก้วหน้าหนู เกล็ดแก้วหัววุ้น เกล็ดแก้วหัวมงกุฎ


ปลาทองโคเมท

11. ปลาทองโคเมทหรือปลาทองหางซิว (Comet)
เป็นปลาที่มีรูปทรงคล้ายปลาคร็าฟมากแต่มีหางที่ยาวกว่าปลาคร็าฟ ปลาพันธุ์นี้จะมีสีดังนี้คือ แดงทั้งตัว แดงสลับขาว และห้าสีในปลาตัวเดียวคือแดง ดำ ขาว ส้ม ฟ้า


Monday 25 April 2011

สายพันธ์ปลาทอง

สายพันธ์ปลาทองที่นิยมเลี้ยงในไทย
ปลาทองมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น ต่อมาถูกนำไปเลี้ยงในยุโรปเมื่อศตวรรษที่ 17 และถูกนำไปเผยแพร่ในอเมริกา ในศตวรรษที่ 19 ชาวจีนและชาวญี่ปุ่นรู้จักผสมพันธ์ปลาทองมานานแล้วและได้ปลาทองลูกผสมที่น่าสนใจ มีสีหลากหลายตั้งแต่สีแดง สีทอง สีส้ม สีเทา สีดำและสีขาว แม้กระทั่งปลาทองสารพัดสีในตัวเดียวกัน ปลาทองมีชีวิตอยู่ตามแหล่งธรรมชาติจนกระทั่งมีชาวจีนบางคนได้จับมาเลี้ยงตามบ่อเพราะดูหน้าตาสวยดี สีสันแปลกตา สร้างความเพลิดเพลินใจได้เป็นอย่างดี จึงเลี้ยงสืบต่อกันมาเรื่อย ๆ ทำให้มีการแปรผันผันแปร และพัฒนาเรื่อยมา ประกอบกับความนิยมเลี้ยงที่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ปลาทองที่เลี้ยงมีรูปร่างหน้าตาเปลี่ยนแปรไป เช่น แต่เดิมปลาทองจะหาอาหารตามบ่อน้ำธรรมชาติเพื่อเลี้ยงชีวิตซึ่งต้องออกเรี่ยวออกแรง ไขมันส่วนเกินก็ไม่มี หุ่นก็เพรียวลม ครั้นย้ายมาอยู่ตามบ่อเลี้ยง อาหารปลาก็ถูกนำมาเสริฟกันถึงขอบบ่อ แถมเสริฟเป็นเวลาซะด้วย ทำให้ปลาทองบางตัวพุงป่องดูอ้วนตุ้ยนุ้ยขึ้นและหากลักษณะต่างๆดังกล่าวเกิดเป็นที่ประทับใจมนุษย์หรือคนดูคนชมว่าสวยแล้ว ก็จะถูกขุนขึ้นไปเรื่อยๆตามสูตร ปลาทองถูกมนุษย์เลี้ยงมาตั้งแต่อดีต ประมาณ พ.ศ. 1161-1450 หรือนับเป็นพันปีมาแล้ว ปลาทองในสภาพธรรมชาติที่ไม่ได้ถูกมนุษย์นำมาเลี้ยงนั้นก็ได้พัฒนาตัวเอง ทำมาหากินตามธรรมชาติ สืบทอดสายพันธ์มาจนถึงปัจจุบัน ก็แทบจะเป็นคนละปลาเดียวกันกับปลาทองของวันนี้เลย เพราะเมื่อพิจารณาดูจะพบว่าปลาใน ปลาตะเพียนทั้งหลายต่างก็อยู่ในเทือกเขาเหล่าตระกูลเดียวกันกับปลาทอง คือ FAMILY CYYPRNDAE

ปลาทองหัวสิงห์จีน
1. ปลาทองหัวสิงห์จีน
ลักษณะเด่นของปลาพันธุ์นี้ คือ มีส่วนหัวที่ใหญ่กว่าลำตัวมาก ส่วนวุ้นที่หัวมีมากและหนาแน่นกว่าสิงห์สายพันธุ์อื่น ในประเทศญี่ปุ่นได้แยกลักษณะวุ้นบนส่วนหัวของปลาคือ วุ้นมีขนาดเท่ากันเกือบทั้งหมดบนหัวเรียกว่า ชิชิงาชิระ (Shishigashira) วุ้นมีมากเฉพาะกลางหัวเรียกว่า โทกิง (Tokin) วุ้นมีทั้งบนหัวและที่ฝาเหงือกทั้งสองข้างเรียกว่า โอคาเหมะ (Okame) แต่โดยทั่วไปนิยมเรียกปลาที่มีวุ้นบนหัวว่า รันชู (Ranchu) ส่วนหลังของปลาลาดโค้งเพียงเล็กน้อยและไม่มีครีบบนหลัง หางจะหนาและใหญ่กว่าสิงห์พันธุ์อื่นๆ ปลาส่วนมากมีสีแดง และโตตามขนาดบ่อที่เลี้ยงได้ประมาณ 20-25 ชม.

ปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น
2. ปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น
เป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากสิงห์จีนโดยประเทศญี่ปุ่น หลังของปลาจะโค้งมากกว่าสิงห์จีน มีวุ้นอยู่บนส่วนหัว แก้ม เหนือริมฝีปาก และที่คาง หลังของปลาจะต้องโค้งจนคนในวงการปลาเปรียบเทียบไว้ว่า หลังโค้งไข่ผ่าซีก ครีบหางต่อกับลำตัวเป็นมุมแหลมเฉียงขึ้น 45 องศา ครีบทวารมีทั้งเดี่ยวและคู่ มีสีแดงและขาวสลับแดง


ปลาทองหัวสิงห์ลูกผสม
3. ปลาทองหัวสิงห์ลูกผสม (Hybrid lionhead)
เป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์ให้สวยขึ้นโดยประเทศไทย ซึ่งนำเอาจุดเด่นของปลาสิงห์จีนและญี่ปุ่นมารวมเข้าไว้ด้วยกัน เพราะปลาสิงห์ญี่ปุ่นเพาะพันธุ์ได้ค่อนข้างยาก และลูกปลาที่คัดแล้วมีความสวยงามเหมือนพ่อแม่ปลาจะมีน้อยมาก ทำให้ปลามีราคาสูง การนำปลาสิงห์จีนมาผสมข้ามพันธุ์กัน ทำให้ได้ลูกปลาที่ทรงสวยงามเพิ่มมากขึ้น สิงห์ลูกผสมจะมีวุ้นบนหัวน้อยกว่าสิงห์จีนเล็กน้อย แต่หลังจะโค้งมากกว่าจนเกือบใกล้เคียงสิงห์ญี่ปุ่น

ปลาทองหัวสิงห์สยาม


4. ปลาทองหัวสิงห์สยาม (Siamese lionhead)
เป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์ให้สวยขึ้นโดยประเทศไทย มีทรงและลักษณะเหมือนสิงห์ลูกผสม แต่มีสีทุกส่วนของลำตัวปลาเป็นสีดำทั้งหมด





ปลาทองสิงห์ตากลับ

5. ปลาทองสิงห์ตากลับ (Celestial goldfish)
มีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน เรียกว่า โซเตนกัน ญี่ปุ่นเรียกว่า เดเมรันชู ส่วนหัวของปลามีวุ้นเล็กน้อย ลำตัวและทรงคล้ายสิงห์จีน แต่มีลำตัวที่ยาวกว่าสิงห์จีนมาก มีสีแดง

ยังไม่จบอ่านต่อพรุ่งนี้นะครับ

Sunday 24 April 2011

ปลาเรนโบว์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melanotaenia Boesemani
วงศ์ : Melanotaeiidae

ถิ่นกำเนิด : มีอยู่ทั่วไปตามแหล่งน้ำ หนองบึง ลำห้วย ซึ่งมีพืชพันธุ์ไม้น้ำหนาแน่น หมู่เกาะนิวกีนี ออสเตรเลีย

ปัจจุบันการเลือกซื้อปลาสวยงามมาเลี้ยงไว้สักชนิดนั้นหาได้ไม่ยาก เพราะสมัยนี้มีปลาสวยงามให้เลือกซื้ออย่างมากมาย ปลาเรนโบว์ (Rainbowfishes) ก็เป็นอีกหนึ่งชนิดของปลาสวยงามที่มีผู้สนใจหันมาเลี้ยงกันมากขึ้น เพราะปลาเรนโบว์เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย และที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ ชนิดของเรนโบว์ที่เลี้ยงกันโดยทั่วไปนั้นสามารถเพาะพันธุ์ได้แล้วในประเทศไทย

ปลาเรนโบว์
การเลี้ยงปลาเรนโบว์
สำหรับในประเทศไทยนั้นเรื่องคุณภาพน้ำไม่ใช่ปัญหาในการเลี้ยง เนื่องจากคุณสมบัติของน้ำประปาส่วนใหญ่มีระดับพีเอช (pH) 6.5-8 ซึ่งเหมาะสมกับปลาเรนโบว์เกือบทุกชนิด ส่วนวิธีการเลี้ยงนั้นก็คล้ายกับการเลี้ยงปลาขนาดเล็กทั่วไป จะต่างกันก็ตรงที่การให้อาหารในการเลี้ยงพบว่า การเลี้ยงปลาเรนโบว์ควรจะให้อาหารเพียงวันละ 1 มื้อ อาจจะเป็นช่วงเช้าหรือเย็นก็ได้ จึงจะทำให้ปลาเรนโบว์มีสุขภาพ รูปทรงสวยงาม

อาหารปลาเรนโบว์
สามารถให้ได้ทั้งอาหารสดและอาหารเม็ด ซึ่งอาหารเม็ดที่ให้ควรเป็นอาหารเม็ดที่มีส่วนผสมของพืชเป็นองค์ประกอบเช่น สาหร่ายสไปรูลิน่า แต่สำหรับผู้ที่ต้องการจะทำการเพาะพันธุ์ก็ควรที่จะให้อาหารสดค่ะ

การเพาะพันธุ์ปลาเรนโบว์
โดยส่วนมากปลาเรนโบว์จะสืบพันธุ์ได้เมื่ออายุประมาณ 6 เดือน ขึ้นไป แต่ถ้าใช้พ่อแม่พันธุ์ที่มีอายุ 1 ปีขึ้นไปก็จะทำให้ได้ลูกปลาที่มีคุณภาพดีกว่า ปลาเรนโบว์สามารถวางไข่ได้ตลอดทั้งปี ปกติตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียที่มีอายุเท่า ๆ กัน และตัวผู้ก็จะมีสีสันเข้มกว่าตัวเมีย เรนโบว์เป็นปลาที่มีไข่ประเภทติดพันธุ์ไม้น้ำ ช่วงเวลาที่วางไข่คือ ช่วงเช้ามืด ซึ่งสิ่งที่เราสามารถสังเกตได้คือ ในช่วงเช้าสีปลาตัวผู้จะเข้มขึ้นและจะว่ายโชว์สีสันแข่งกับตัวผู้ตัวอื่น และเกี้ยวพาราสีตัวเมีย โดยตัวเมียที่สมบูรณ์จะวางไข่ได้ครั้งละประมาณ 100-200 ฟอง โดยจะทยอยวางไข่ใช้เวลาประมาณ 1 อาทิตย์และไข่จะใช้เวลาฟักเป็นตัวอีกประมาณ 3-5 วัน สำหรับตู้ปลาที่ใช้ในการเลี้ยงนั้นควรใช้ตู้ที่มีขนาด 24 นิ้ว และใช้ปลาเรนโบว์ประมาณ 4 คู่ก็พอ

Friday 22 April 2011

ฉลามปากเป็ด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Polyodon Spathula
วงศ์ : Polyodontidae
ถิ่นกำเนิด : ในแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ สหรัฐอเมริกา และอาศัยในแม่น้ำขนาดใหญ่ ทะเลสาบธรรมชาติ

การขยายพันธุ์ : วางไข่ครั้งละหลายหมื่นฟอง แต่ครั้งเดียวในรอบ 2-5 ปี
อาหาร : กินแพงค์ตอนโดยการว่ายอ้าปากกรองจากน้ำโดยตรง

ปลาฉลามปากเป็ด เป็นปลากระดูกแข็งในอันดับปลาสเตอร์เจียน (Acipenseriformes) 2 ชนิด ชนิดที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ (American paddlefish, Mississippi paddlefish) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Polyodon spathula

ฉลามปากเป็ด
ถึงแม้มีรูปร่างโดยผิวเผินคล้ายฉลามและมีคำว่าฉลามอยู่ในชื่อ แต่ทางอนุกรมวิธานไม่จัดเป็นปลาฉลามแต่อย่างใด พบในบริเวณแม่น้ำมิสซิสซิปปี ประเทศสหรัฐอเมริกา

ฉลามปากเป็ดมีความยาวได้ถึง 7 ฟุต และมีน้ำหนักได้ถึง 100 กิโลกรัม ลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้คือจงอยจมูกที่ยาวและแบนคล้ายปากของเป็ด สามารถตรวจจับไฟฟ้าได้ ซึ่งใช้หาอาหารและนำร่องในการว่ายน้ำไปยังแหล่งผสมพันธุ์

ปลาชนิดนี้กินแพลงตอนสัตว์เป็นอาหาร โดยจะอ้าปากกรองแพลงตอนสัตว์เวลาว่ายน้ำ ฉลามปากเป็ดเป็นปลามีอายุยีนได้ถึง 30 ปี แพร่พันธุ์โดยการวางไข่ครั้งละหลายหมื่นฟอง ไข่ปลาสามารถเอามาใช้เป็นไข่ปลาคาเวียร์ได้ เช่นเดียว กับไข่ของปลาสเตอร์เจียน

แต่ฉลามปากเป็ดเป็นปลาที่เจริญวัยช้ามากประมาณ 7-9 ปีในตัวผู้และ 10-12 ปีในตัวเมีย มีการวางไข่เพียงครั้งเดียวเท่านั้นในรอบ 2-5 ปี

Wednesday 20 April 2011

ปลาฉลามหางไหม้

ชื่อวิทยาศาสตร์ Bolantiocheilus melanopterus

ชื่ออื่นๆ ปลาฉลามหางไหม้, ปลาฉลามหางเหยี่ยว, หนามหลังหางดำ

"ปลาฉลามหางไหม้” จัดเป็นปลาน้ำจืดที่เคยพบในเขตภาคกลางของประเทศไทยบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา แต่ปัจจุบันเข้าใจว่าได้สูญพันธุ์ไปจากแหล่งน้ำธรรมชาติแล้ว นอกจากในบ้านเราแล้วยังพบในลุ่มน้ำในประเทศอินโดนีเซีย (ที่เกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว), มาเลเซียและกัมพูชา เป็นต้น เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ปัจจุบันคนไทยประสบความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์ปลาฉลามหางไหม้ด้วยวิธีการผสมเทียมโดยมีหลักการเบื้องต้นคล้ายกับการผสมพันธุ์ปลาตะเพียน จะมีเทคนิคแตกต่างกันเล็กน้อย

ปลาฉลามหางไหม้
ลักษณะทั่วไปของปลาฉลามหางไหม้
ลำตัวมีลักษณะแบนข้างเล็กน้อย ลำตัวมีสีเงิน หางเว้าเป็นสองแฉก ครีบมีสีเหลืองอ่อน ขอบครีบทุกครีบมีสีดำยกเว้นครีบอก ปากมีขนาดเล็กสามารถยืดหดได้ ริมฝีปากบนยื่นยาวกว่าริมฝีปากล่าง อุปนิสัยของปลาชนิดนี้เป็นปลาที่รักสงบ ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ตื่นตกใจง่าย ชอบกระโดดออกนอกอ่างหรือตู้ มักจะว่ายอยู่ตลอดเวลา

การเพาะพันธุ์อาศัยการวางไข่ครั้งประมาณ 6,000 – 7,000 ฟอง ฟักออกเป็นตัวใช้เวลาประมาณ 12 ชั่วโมง การสังเกตุเพศของปลาดูได้จากลักษณะลำตัว โดยปลาตัวเมียลำตัวจะกว้างกว่าตัวผู้ และในช่วงวางไข่ท้องจะอูมกว่า อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาชนิดนี้ใช้ได้ทั้งอาหารสาเร็จรูปและอาหารสดประเภท ลูกน้ำ หนอนแดง ตัวอ่อนแมลง ฯลฯ

จัดเป็นปลาที่ตื่นตกใจง่าย เมื่อนำมาเลี้ยงในตู้หรืออ่างอาจจะพบปัญหาเรื่องการกระโดดออกนอกอ่างหรือตู้ได้ เคยพบปลาฉลามหางไหม้ในธรรมชาติที่เจริญเติบโตเต็มที่มีขนาดลำตัวถึง 14 นิ้ว

Tuesday 19 April 2011

ปลาฉลามเสือดาว

ปลาฉลามเสือดาว เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่งที่ไม่มีอันตรายต่อมนุษย์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stegostoma fasciatum อยู่ในวงศ์ Stegostomatidae และถือเป็นปลาชนิดเดียวที่อยู่ในวงศ์นี้และสกุล Stegostoma

ปลาฉลามเสือดาวเป็นปลาที่มีครีบหางยาวมาก มีส่วนหัวสั้นทู่ พื้นลำตัวสีเหลืองสลับลายจุดสีดำคล้ายลายของเสือดาว จึงเป็นที่มาของชื่อ เมื่อยังเล็กอยู่ ลายบนลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลดำคาดขาวคล้ายลายของม้าลาย ดังนั้น จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อนึงในภาษาอังกฤษว่า Zebra Shark (ฉลามม้าลาย)

ลักษณะนิสัยของปลาฉลามเสือดาว
ชอบนอนอยู่นิ่ง ๆ บนพื้นทรายและแนวปะการังใต้ทะเล ในความลึกตั้งแต่ 5-30 เมตร โดยพบในทะเลบริเวณแถบอินโด-แปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย โดยใช้เวลาในช่วงกลางวันนอน กลางคืนออกหากิน เมื่อถูกรบกวนจะว่ายหนีไป ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ประมาณ 3 เมตร

ปลาฉลามเสือดาว
อาหารของปลาฉลามเสือดาว
ส่วนใหญ่จะเป็นสัตว์ทะเลจำพวกกุ้ง หอย และสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังชนิดอื่นๆ ปลาบางชนิดหรือแม้แต่งูทะเล มันจะออกล่าอาหารตอนกลางคืนโดยการผลักตัวเองขึ้นมาจากพื้นทะเลโดยใช้ครีบบริเวณทรวงอกเปิดขึ้นมาตรงด้านหน้าลำตัวเหมือนโพรง แล้วก็จะรอจนกว่าปูหรือกุ้งมังกรเข้ามาใกลๆ แล้วมันก็จะตะครุบเหยื่อแล้วใช้แผ่นขยี้เหยื่อในปาก ก่อนจะกิน ความจริงก็คือฉลามเสือดาว ไม่มีฟัน แต่จะมีแผ่นบางๆ ในปากสองแผ่นที่ใช้ในการขยี้เหยื่อ ศัตรูที่อันตรายที่สุดของฉลามดาวคือมนุษย์ เนื่องจากพฤติกรรมที่เชื่อง และรูปพรรณที่สวยงาม ฉลามเสือดาวจึงเป็นสัตว์ที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทั่วโลกนิยม

ปลาฉลามเสือดาวเป็นฉลามที่ออกลูกเป็นไข่ โดยจะวางไข่ในเขตน้ำตื้น ลูกปลาขนาดเล็กอาจจะเข้าไปอยู่ในบริเวณน้ำกร่อยหรือน้ำจืด แถบป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำได้ เมื่อโตขึ้นจึงค่อยย้ายลงสู่ทะเลลึก ดังนั้นลูกปลาขนาดเล็กจึงมักติดเบ็ดหรืออวนของชาวประมงอยู่บ่อย ๆ ซึ่งในทางประมงแล้ว ปลาฉลามชนิดนี้ไม่จัดว่าเป็นปลาที่ใช้ในการบริโภคแต่อย่างใด นอกจากนี้แล้วยังเป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม และมักพบเลี้ยงในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ทั่วโลก

Monday 18 April 2011

ปลาฉลามหัวค้อน

ชื่อไทย : ฉลามหัวค้อนสั้น, อ้ายแบ้สั้น
ชื่อสามัญ : SQUAT-HEADED HAMMER HEAD SHARK
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sphryna tudes (Valenciennes)

ปลาฉลามหัวค้อนหรืออ้ายแบ้ (Hammerhead sharks) เป็นปลาฉลามที่มีรูปร่างแปลกสะดุดตามากกว่าชนิดอื่นๆ ส่วนหัวที่แบนและยื่นยาวออกเป็นก้านคล้ายปีกสองข้าง หัวจึงดูคล้ายหัวค้อนที่ใช้ตอกตะปู ตาแยกห่างออกจากกันอยู่ตรงปลายสุดของปีกที่ยื่นยาวออกไป ปลาฉลามหัวค้อนที่พบในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ ปลาฉลามหัวค้อนยาว (Eusphyra blochii) และปลาฉลามหัวค้อนสั้น (Sphyrna tudes)

ปลาฉลามหัวค้อน
ส่วนหัวของปลาฉลามหัวค้อนที่มีลักษณะแบนราบและแผ่ออกคล้ายปีกทั้งสองข้าง ช่วย ทำให้เกิดแรงยกตัวขึ้นทางด้านหน้า ช่วยให้พุ่งตัวขึ้นตามแนวตั้งได้รวดเร็ว ยังใช้รับความรู้สึกบางอย่างและยังช่วยลดแรงต้านของน้ำให้เหลือน้อย ที่สุดในเวลาเอี้ยวหัวไปมา จึงสะดวกในการไล่งับเหยื่อที่ว่องไวได้ดี

ปลาฉลามหัวค้อนทุกชนิดออกลูกเป็นตัว มีลูกครอกละ 4-37 ตัว การผสมพันธุ์เกิดก่อนไข่ตกในรังไข่ประมาณ 2 เดือน ตัวเมียเก็บน้ำเชื้อไว้ในต่อมสร้างเปลือกไข่ ไข่เจริญมาจากรังไข่ข้างขวาที่จะทำหน้าที่เพียงข้างเดียว ลูกอ่อนในมดลูกได้รับออกซิเจนและอาหารจากถุงไข่แดงและจากพู่เหงือก ซึ่งจะหดหายไปเมื่อโตขึ้นมา

Sunday 17 April 2011

ปลากะพงแดง

ชื่อไทย : ปลากะพงแดง
ปลากะพงแดงน้ำกร่อยอยู่ในครอบครัว (Family) Lutjanidae

ชื่อสามัญ Red Snapper หรือ Mangrove snapper
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lutianus argentimaculatus
ปลากะพงแดงน้ำกร่อยเป็นปลาขนาดใหญ่ที่พบทั่วไปในบริเวณทะเลชายฝั่ง ทางอ่าวไทยตอนใต้ ตั้งแต่ชุมพรถึงนราธิวาส และทางฝั่งมหาสมุทรอินเดีย ตั้งแต่ระนองถึงสตูล สามารถเข้าไปอาศัยอยู่ได้ตามแหล่งน้ำบริเวณป่าชายเลน ตลอดจนแหล่งน้ำกร่อย

ปลากะพงแดงนิยมอยู่รวมกันเป็นฝูง พบได้ในบริเวณป่าชายเลน ปากแม่น้ำ หรือบริเวณชายฝั่งทะเล ปลากะพงแดง ยังมีชื่อเรียกอื่นอีกว่า “ปลากะพงสีเลือด” หรือ “ปลากะพงแดงป่าชายเลน” เป็นปลาที่นิยมตกเป็นเกมกีฬา อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย ปลากะพงแดงมีรูปร่างลักษณะ ลำตัวหนาและด้านข้างแบน หัวโตแหลมยาว มีส่วนหัวและลำตัวที่ยาวกว่า มีฟันเขี้ยวแหลมคมโง้งเห็นชัดเจน 2 ซี่ในปาก ริมฝีปากหนา คอดหางมีขนาดใหญ่และแข็งแรง เกล็ดใหญ่มีขอบหยักเป็นหนาม เส้นข้างลำตัวติดต่อกันเป็นแถวยาวโค้งอยู่บริเวณค่อนไปทางลำตัวด้านบน ครีบหลังอันแรกมีก้านครีบเป็นหนามแข็ง ปลายแหลม อันที่สองเป็นครีบอ่อนมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบใหญ่ปลายกลมมน พื้นลำตัวสีแดงหรือแดงสด ส่วนลูกปลาขนาดเล็กจะฟักและเติบโตในบริเวณน้ำกร่อยแถบป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำ ลำตัวมีสีขาวสลับลายพาดสีดำคล้ายปลานิล นิยมสัตว์น้ำ ปลา กุ้ง ที่มีขนาดเล็กเป็นอาหาร พบปลากะพงแดงขนาดใหญ่สุดถึง 1.5 เมตร

ปลากะพงแดง

นิสัยปลากะพงแดง
โดยธรรมชาติเป็นปลาที่ว่ายน้ำรวดเร็วในระยะสั้นๆ ทั้งปลาขนาดเล็กและปลาใหญ่ แต่เมื่อตกใจจะมุดซ่อนตัวตามมุมกระชังหรือซอกหิน มีนิสัยดุเมื่อยังเป็นปลาวัยรุ่น ฉนั้นถ้านำลูกปลาเล็กที่ขนาดไม่เท่ากันมาเลี้ยงไว้ในที่เดียวกันปลาตัวใหญ่จะกินปลาเล็ก ถึงแม้ว่าจะให้อาหารพอเพียงแล้วก็ตาม แต่นิสัยดังกล่าวจะหายไปเมื่อปลาโตขึ้น

Saturday 16 April 2011

ปลาโปลาโนรีนรี

ชื่อไทย : ปลาโนรี, โนรีเกล็ด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Heniochus acuminatus Linnaeus, 1758
ขนาดเมื่อโตเต็มวัย : 25 เซนติเมตร
ลักษณะทั่วไป: สังเกตได้ง่าย เพราะเป็นปลาผีเสื้อที่มีครีบหลังยาวออกมาเป็นเส้น ลำตัวเป็นลายสีขาวดำ ครีบและหางมีสีเหลือง ลักษณะคล้ายกับโนรีอีกชนิดหนึ่ง (H. diphreutes) แต่ชนิดหลังนั้นมีลำตัวที่ค่อนข้างกลมกว่าชนิดแรก

ถิ่นอาศัย : พบทั่วไปในเขตอินโด-แปซิฟิก ในเมืองไทยพบได้ในทะเลทั้งสองฝั่ง หากินกระจัดกระจายตามลำพังบ้าง เป็นคู่บ้าง หรือบางทีก็พบรวมกันเป็นฝูง ตามกองหินและแนวปะการัง

ปลาโนรี
ปลาโนรีครีบยาว เป็นปลาที่นักดำน้ำไหนๆก็มีสิทธิเจอ พวกเขาอยู่ในครอบครัวปลาผีเสื้อ Chaetodontidae ต่างจากปลาสินสมุทรเพราะไม่มีเงี่ยงข้างแก้ม ปลาโนรีแยกจากปลาผีเสื้อสกุลอื่น มีลักษณะเฉพาะตัว ปลาโนรีสกุลนี้ที่เจอได้มี 6 ชนิด 4 ชนิดเป็นโนรีครีบสั้น อีก 2 ชนิดเป็นโนรีครีบยาว ที่สำคัญคือเจ้าสองตัวหลังแยกได้ยากมาก โดยเฉพาะถ้าเขาว่ายมาให้เราดูแป๊ปเดียว

พฤติกรรมหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับนักดูโนรีทั้งหลายคือ พวกเขามักไล่กินแมงกะพรุนบาดเจ็บ บางทีก็ไล่ตอดแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดใหญ่ ปากที่แหลมของโนรีช่วยให้พวกเขาสามารถหลีกเข็มพิษได้

Sunday 10 April 2011

ปลาเฟลมแองเจิ้ล

ปลา เฟลมแองเจิ้ล จัดว่าเป็นแองเจิลแคระชนิดหนึ่งที่มีความน่าเลี้ยงเป็นอย่างสูง เนื่องจากราคาที่ไม่เกินเอื้อมมากนัก เลี้ยงไม่ยากจนเกินไปและมีสีสันสดใสอย่างเฟลวไฟดั่งชื่อของมัน ระดับความยากง่ายในการดูแล ปานกลาง

ชื่อ Flame Angelfish

ชื่อวิทยาศาสตร์ Centropyge loriculus

เฟลมแองเจิ้ลเป็นปลาที่มีการผสมข้ามสายพันธุ์กับแองเจิ้ลแคระอีกหลายชนิด เช่น พ็อตเตอร์แองเจิ้ล และหมอม่วง โดยลูกผสมที่ได้ก็มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างทั้งพ่อและแม่ จนบางทีก็เป็นการยากที่จะชี้ชัดว่าเป็นปลาชนิดใดกันแน่ นอกจากการทดสอบทางดีเอ็นเอและตรวจสอบโครงสร้างทางกายวิภาคอย่างละเอียด แต่อย่างไรก็ตามปลาที่มีลักษณะก้ำกึ่งเช่นนี้ มักจะมีราคาสูงในตลาดปลาสวยงาม เพราะความหายากและแปลกตาของมัน

ปลาเฟลมแองเจิ้ล
เฟลมแองเจิ้ลถึงจะเป็นปลาที่หาจับได้หลายแหล่งแต่เฟลมแองเจิ้ลจากหมู่เกาะฮาวายแท้ๆ นั้นเป็นที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยว่ากันว่า เฟลมแองเจิ้ลที่พบรอบๆ หมู่เกาะแห่งนี้นั้นมีสีสันสดใสและมีลวดลายสวยงามว่าที่อื่นหลายเท่า แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าเฟลมแองเจิ้ลจากฮาวายแท้ๆ นั้นได้ลดจำนวนลงมากจากอดีตทำให้เฟลมที่ถูกส่งออกจากฮาวายในปัจจุบันนั้น เป็นปลาที่ถูกรวบรวมมาจากแนวปะการังอื่นๆ ในเขตมหาสมุทรแปซิฟิก เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดที่ยังคงพุ่งสูงอยู่เสมอแทน

ตู้ที่เลี้ยงเฟลมแองเจิ้ลจะต้องเป็นตู้ที่ไม่เล็กเกินไป ควรมีขนาดขั้นต่ำ 150ลิตร และมีหินและซอกหลืบเป็นจำนวนมากเพื่อให้เจ้าเฟลมแองเจิ้ลได้หลบซ่อนและมุดลอดไปมา เนื่องจากตาม ธรรมชาติ แล้วปลาชนิดนี้จะอยู่ตามซอกหินและปะการัง และจะจิกเศษ สาหร่าย ตามหินและ ปะการัง จึงอาจจะเป็นอันตรายต่อ ปะการัง บ้างในบางครั้ง แต่ก็มีผู้เลี้ยงหลายท่านที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงเฟลมแองเจิ้ลโดยที่ไม่มีการทำร้ายปะการังเลย

อาหารหลัก ของเฟลมแองเจิ้ล จะเป็นได้ทั้งจำพวก สาหร่ายทะเล และ เนื้อสัตว์ทะเลต่างๆ เฟลมจะค่อนข้างดุร้ายต่อปลาในตระกูลเดียวกัน ดังนั้นท่านควรที่จะเลี้ยงแอลเจิลขนาดเล็กได้แค่เพียงหนึ่งชนิดเท่านั้นภายในตู้

Saturday 9 April 2011

สิ่งที่ไม่ควรนำมาเลี้ยงในตู้ปลาทะเล

ร้านขายปลาทะเลโดยทั่วไปแล้วส่วนมากมักจะขายสัตว์ทะเลและปลาทะเลที่มีสีสันสวยงามหลากหลายชนิด โดยที่อาจจะไม่มีความรู้ หรือไม่คำนึงว่าสัตว์เหล่านั้นเลี้ยงยากแค่ไหนในระบบปิด หรือบางชนิดอาจจะไม่สามารถนำมาเลี้ยงได้เลย หรืออาจใกล้สูญพันธุ์แล้ว ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกัน และร่วมกันอนุรักษ์สัตว์ทะเลและปลาทะเล เราจึงควรพิจารณาว่าสิ่งมีชีวิตชนิดใดที่เราควรนำมาเลี้ยง และไม่ควรนำมาเลี้ยง เพื่อที่เราจะได้ไม่สนับสนุนการค้าขายสัตว์เหล่านั้นต่อไป

เราไม่สามรถจะจัดองค์ประกอบต่องๆให้เหมาะสมได้ หรือ ไม่ก็ต้องใช้อุปกรณ์และมีต้นทุนที่สูงมากๆ ดังนั้นสิ่งมีชีวิตบางชนิดไม่เหมาะที่จะนำมาเลี้ยงในตู้ของเรา แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถเลี้ยงได้แต่ต้องการการดูแลอย่างมาก และต้องมีระบบตู้ที่สมบูรณ์อุปกรณ์ต่างๆต้องพร้อมก่อนเลี้ยง

สัตว์หรือสิ่งมีชีวิตที่ไม่ควรนำมาเลี้ยงในตู้ปลาทะเล

ทากทะเล
1. ทากทะเล
ทากทะเลเป็นสัตว์ที่มีสีสันสวยงามสะดุดตามาก อีกทั้งยังมีรูปร่างแปลกจนเป็นที่ สะดุดตาสำหรับนักเลี้ยงมือใหม่ ถ้าเราไปตาม ร้านขายปลาทะเล คนขายมักบอกเราว่า ทากทะเลเลี้ยงง่าย กินตะไคร่ และัราคาก็ไม่แพงจนเกินไปนัก ทำให้เรา หลงกลเอาง่ายๆ ซึ่งอันที่จริงแล้ว ทากทะเลเป็นสัตว์ที่กินอาหารจำเพาะ เช่นฟองน้ำทะเล ซึ่งหายากและ อาจมีราคาแพง อีกทั้งยังมี วงจรชีวิตที่สั้น และตายได้ในเวลาไม่นานนัก ดังนั้นเราจึงไม่ควร สนับสนุนการเลี้ยงทากทะเล

กั้งทะเล
2. กั้ง
จริงๆแล้วกั้งเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย แต่เนื่องจากกั้งกินปลา และสามารถโตได้จนมีขนาดใหญ่ จึงไม่แนะนำให้เลี้ยงรวมกับปลา ซึ่งบางที เราอาจจะเห็น กั้งตั๊กแตน ที่มีสีสันสวยงามในร้าน ขายปลาทะเล แล้วอาจจะซื้อมาโดยที่ไม่รู้ก็ได้ ซึ่งสัตว์ที่เลี้ยงง่าย แต่เป็นอันตรายต่อปลา ก็มีอีก เช่น ปู ปลาหมึก หรือ กุ้งมังกร เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้ควรเลี้ยงแยกตู้ หรือเลี้ยงใน ตู้เฉพาะเท่านั้น

สาหร่ายถั่วงอก

3. สาหร่ายถั่วงอก
เป็นสาหร่ายสีขาว ปลายเขียว ลักษณะเป็นเส้นหนา รวมกันเยอะๆ ราคาไม่แพง ซึ่งยังไม่ทราบถึงสภาวะ ที่เหมาะสมกับมัน เพราะเมื่อเลี้ยงไปซักพักจะค่อยๆ ละลายหายไปจนหมดก้อนและก็ตายในที่สุด จึงไม่แนะนำให้เลี้ยง


Wednesday 6 April 2011

สิ่งที่ไม่ควรนำมาเลี้ยงในตู้ปลาทะเล

หลายๆสิ่งที่เราเห็นขายกันตามร้านขายสัตว์ทะเลสวยงามในที่ต่างๆ ต่างก็มีความสวยงามแตกต่างกันออกไป แต่การที่เขานำมาขายนั้นใช่ว่าจะสามารถเลี้ยงในระบบที่มีขนาดเล็ก ซึ่งต่างจากมหาสมุทรที่กว้างใหญ่ บางชนิดมีความต้องการแร่ธาตุสารอาหารอุณหภูมิ และอาหารที่เหมาะสม รวมถึงพื้นที่กระแสน้ำและอาณาเขต ที่กว้างขวางเป็นกิโล

เราไม่สามรถจะจัดองค์ประกอบต่องๆให้เหมาะสมได้ หรือ ไม่ก็ต้องใช้อุปกรณ์และมีต้นทุนที่สูงมากๆ ดังนั้นสิ่งมีชีวิตบางชนิดไม่เหมาะที่จะนำมาเลี้ยงในตู้ของเรา แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถเลี้ยงได้แต่ต้องการการดูแลอย่างมาก และต้องมีระบบตู้ที่สมบูรณ์อุปกรณ์ต่างๆต้องพร้อมก่อนเลี้ยง

สัตว์ที่ไม่ควรนำมาเลี้ยงในตู้ปลาทะเล

ปลาแมนดาริน
1. ปลาแมนดาริน
เป็นปลาที่มีหน้าตาแปลก เคลื่อนไหวช้า และปากเล็ก จึงกินอาหารได้จำกัด โดยปลาชนิดนี้มักกินเฉพาะอาหารสดที่มีขนาดเล็ก ซึ่งเพียงแค่ไรทะเลอาจไม่เพียงพอ ซี่งตู้ที่สามารถเลี้ยงแมนดารินได้ควรจะเป็นตู้ปลาที่มีขนาดใหญ่และมีหินเป็น เป็นจำนวนมากเนื่องจากจะได้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์เล็กๆ เช่น Pod ไว้เป็นอาหารภายในตู้อย่างเพียงพอ สำหรับตู้เล็กนั้นไม่แนะนำเพราะอาจเกิดปัญหาการขาดอาหารได้เพราะปลาชนิดนี้จะกินอาหารตลอดเวลา แต่โดยรวมแล้วถือว่าเป็นปลาที่สามารถเลี้ยงได้ และปัจจุบันสามารถเพาะพันธุ์ได้แล้วในระบบปิด

ปลาไหลริบบิ้น

2. ปลาไหลริบบิ้น
เป็นปลาไหลตัวแบนๆที่มีพู่ที่ปลายหัว สีสันสวยงามมีสีเหลือง, สีฟ้า, สีดำแตกต่างกันไปตามเพศและวัย เป็นสัตว์ที่หายากและักินอาหารได้ยาก มักจะตายในระบบปิด ดังนั้นเราจึงควรสนับสนุนไม่เลี้ยงและปล่อยให้มันอยู่ในทะเลดีกว่า




ม้าน้ำ
3. ม้าน้ำ
พบเห็นได้บ่อยๆ ในร้านขายปลาทะเล ซึ่งจริงๆแล้วม้าน้ำไม่ใช่ว่าจะเลี้ยงไม่ได้ แต่อาจจะเลี้ยงยากสักหน่อย เพราะม้าน้ำนั้นเชื่องช้า โดนปลาอื่นแย่งกินอาหารได้ง่าย จึงไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่น ควรจะเลี้ยงในตู้เฉพาะที่มีลักษณะทรงสูง และเนื่องจากม้าน้ำมีปากที่เล็ก จึงกินอาหารได้จำกัด ( กินแต่ไรทะเลอาจ ได้สารอาหารไม่เพียงพอ ) เช่น อาร์ทีเมีย เป็นต้น และมักจะพบปัญหาไม่ยอมกินอาหาร ซึ่งส่วนมากม้าน้ำมักจะตายเนื่องจากขาดอาหารนั่นเอง แต่โดยรวมแล้วสามารถเลี้ยงได้ง่ายกว่าปลาตระกูล Pipe fish

Tuesday 5 April 2011

สิ่งที่ไม่ควรนำมาเลี้ยงในตู้ปลาทะเล

ร้านขายปลาทะเลโดยทั่วไปแล้วส่วนมากมักจะขายสัตว์ทะเลและปลาทะเลที่มีสีสันสวยงามหลากหลายชนิด โดยที่อาจจะไม่มีความรู้ หรือไม่คำนึงว่าสัตว์เหล่านั้นเลี้ยงยากแค่ไหนในระบบปิด หรือบางชนิดอาจจะไม่สามารถนำมาเลี้ยงได้เลย หรืออาจใกล้สูญพันธุ์แล้ว ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกัน และร่วมกันอนุรักษ์สัตว์ทะเลและปลาทะเล เราจึงควรพิจารณาว่าสิ่งมีชีวิตชนิดใดที่เราควรนำมาเลี้ยง และไม่ควรนำมาเลี้ยง เพื่อที่เราจะได้ไม่สนับสนุนการค้าขายสัตว์เหล่านั้นต่อไป


ปลาที่ไม่ควรนำมาเลี้ยงในตู้ปลาทะเล

ปลาทองทะเล
1. ปลาทองทะเล หรือปลาในตระกูลแอนเทียส เป็นปลาเล็กที่มีสีสันสวยงาม มักจะอยู่รวมกัน เป็นฝูงในธรรมชาติ และยังเป็นปลาที่มี metabolism สูงมาก คือจะกินและขับถ่ายทั้งวัน ปลาชนิดนี้ชอบอยู่ ในน้ำเย็นๆ อีกด้วย ซึ่งเนื่องจากสภาวะหลายๆอย่าง ทำให้ปลาทองทะเล มักตายในตู้ โดยไม่ทราบสาเหตุ คาดว่าอาจมาจากการขาดอาหาร ที่ไม่สามารถรองรับ การเผาผลาญของร่างกายได้ และสิ่งแวดล้อม ที่ไม่เหมาะสมหลายๆ อย่าง


ปลาผีเสื้อ
2. ปลาผีเสื้อ ปลาผีเสื้อเป็นปลาที่พบบ่อยมากตามท้องตลาด เป็นปลาที่มีความสวยงามน่าสนใจ และดูเหมือนจะเลี้ยงง่าย แต่ที่จริงแล้วเป็นปลาที่เลี้ยงยาก และมักจะตายโดยที่ไม่ทราบสาเหตุหรืออยู่ๆก็ตาย ซึ่งอาจจะทำให้ไปติดเชื้อกับปลาในตู้ตัวอื่รก็ได้ สาเหตุเนื่องจากปลาผีเสื้อมีปากขนาดเล็ก จึงต้องกินอาหารที่จำเพาะ และอาหารหลักของมัน คือ พวกโพลิปของปะการัง ซึ่งอาจทำให้มันขาดสารอาหาร ที่จำเป็น และตายได้ในตู้ปลาทะเลได้ แต่ก็มีปลาผีเสื้อบางชนิดเท่านั้น ที่สามารถเลี้ยงได้ เช่น ผีเสื้อนกกระจิบ เป็นต้น ที่สามารถเลี้ยงได้ ซึ่งปลาผีเสื้อชนิดนี้ อาจช่วยกิน Aiptesia ซึ่งเป็นอันตราย ต่อปะการังในตู้ปลาทะเลของเราได้

ปลาจิ้มฟันจระเข้
3. ปลาจิ้มฟันจระเข้ หรือ Pipe fish เป็นปลาตระกูลเดียวกับม้าน้ำ มีลักษณะลำตัวเรียวยาว ปากแหลมยาวคล้ายจระเข้ เคลื่อนไหวช้า สีสวยงาม และรูปร่างแปลก ซึ่งเป็นสาเหตุให้ปลา ชนิดนี้กินอาหารยากมาก เพราะมีลักษณะปากที่เล็ก จึงกินได้เฉพาะ อาหารที่มี ขนาดเล็กๆ เท่านั้น และการเคลื่อนไหวที่้ช้าของมัน ทำให้กินอาหารได้ไม่ทันปลาตัวอื่น ซึ่งส่วนใหญ่ ปลาชนิดนี้มักจะเลี้ยงได้ไม่นาน และตายในที่สุด

Sunday 3 April 2011

ปลาผีเสื้อ (Butterflyfish)

ปลาผีเสื้อ (Butterflyfish)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Chaetodon lunulatus ปลาผีเสื้ออยู่ในครอบครัว Chaetodontidae พบประมาณ 120 ชนิดทั่วโลก ในเมืองไทยพบไม่ต่ำกว่า 25 ชนิด โดยพบได้ทั้งในอ่าวไทยและในทะเลอันดามัน ปลาผีเสื้อกินปะการังเป็นอาหาร จึงเป็นสัตว์ที่มีความเกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ของแนวปะการัง นักวิทยาศาสตร์ใช้ปลาผีเสื้อ เป็นเกณฑ์กำหนดความสมบูรณ์ของแนวปะการัง

ปลาผีเสื้อเป็นปลาที่สวยงาม มีความสำคัญต่อระบบนิเวศแนวปะการัง รวมถึงการศึกษาวิจัยทางชีววิทยาทางทะเล นอกจากนั้นยังมีสีสันสวยงาม นักดำน้ำทั้งแบบ Snorkelling และแบบ SCUBA ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ปลาผีเสื้อยังมีความสำคัญต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับท้องทะเล เนื่องจากเป็นปลาที่หาได้ง่าย มีพฤติกรรมน่าสนใจ รวมทั้งเกี่ยวข้องกับสายสัมพันธ์ของระบบนิเวศแนวปะการังอย่างชัดเจน

ปลาผีเสื้อ (Butterflyfish)
ลักษณะปลาผีเสื้อ
- ปลาผีเสื้อมีลำตัวสั้น แลนด้านข้าง ปากมีขนาดเล็กอาจยืดหดได้ ภายในปากมีฟันละเอียด

- ครีบหลังมีอันเดียว ประกอบด้วยก้านครีบแข็งอยู่ส่วนหน้า และก้านครีบอ่อนอยู่ถัดไป ครีบทวารมีก้านครีบแข็ง 3 อัน และแผ่นยื่นรับกับครีบหลัง

- ปลาผีเสื้อมีนิสัยเฉื่อยชา ว่ายน้ำหรือเคลื่อนไหวไปอย่างช้าๆ ไม่ว่องไวเหมือนปลาอื่นๆ

- เป็นปลาที่หากินเวลากลางวัน เมื่อพลบค่ำจะหลบเข้าไปหาที่หลับนอนตามซอกหิน หรือโพรงปะการัง ในเวลากลางคืนปลาผีเสื้อจะเปลี่ยนสีตัวเองให้เข้มขึ้นโดยจะเป็นแต้มสีน้ำตาล หรือแถบสีเทาก็เพื่อให้ปลอดภัยจากอันตรายและสัตรู