โรคของปลาดุกและการระวังรักษา
โรคของปลาดุกที่ผู้เพาะเลี้ยงประสบปัญหา ซึ่งเป็นเหตุให้ขาดทุนและต้องล้มเลิกกิจการไปมากรายแล้ว ได้แก่
ปลาดุก |
2. โรคท้องบวม แผลพุพองข้างตัว เนื้องอก ทั้งนี้เนื่องจากพิษบัคเตรี เมื่อบัคเตรีเข้าสู่ตัวปลาแล้ว จะไปทำลายระบบขับถ่ายทำให้ปลาไม่สามารถระบายน้ำออกจากร่างกายได้ตามธรรมชาติ ดังนั้น เวลากล้ามเนื้อปลามีน้ำมากจนเกินขนาด น้ำจะดันออกทางผิวหนัง ทำให้เกิดท้องบวมเนื้อหนังแตกเป็นแผลตามตัวปลา
3. โรคครีบและหางเปื่อย-ฉีกขาด ปากเปื่อยและหนวดกุด เนื่องมาจากพวกตัวเบียน ซึ่งได้แก่ เห็บระฆัง (Trichodina) และปลิงใส (Gyrodactyrus) ตัวเบียนดังกล่าว จะเกาะดูดเลือดปลาตรงบริเวณเหงือก หนวด ครีบและหาง ซึ่งทำให้เส้นโลหิตฝอยตามอวัยวะต่าง ๆ แตกได้
4. โรคตัวแข็งหรือช็อก มักเกิดกับปลาดุกทุกวัย แต่จะพบมากในปลาดุกขนาดใหญ่ โรคนี้อาจเกิดขึ้นโดยมีสาเหตุสืบเนื่องมาจากพยาธิตัวกลมในลำไส้ และการขาดอาหารประเภทวิตามินบี และธาตุแคลเซียม
5. โรคหัวกะโหลกร้าว ทำให้เนื้อแตกบริเวณใกล้ ๆ ข้อต่อหรือรอยแยกบนหัวปลาดุก เนื่องมาจากผู้เลี้ยงเร่งอาหารประเภทโปรตีนมากเกินไป ปลาจึงอ้วนมีเนื้อและไขมันมากผิดปกติ ทำให้ขาดความสมดุลระหว่างการเจริญเติบโตของเนื้อและกระดูก ซึ่งนับได้ว่าอาการเช่นนี้เกิดจากปลาดุกขาดอาหารธาตุประเภแคลเซียม
สาเหตุที่ทำให้ปลาดุกเป็นโรคเนื่องมาจากปลาอ่อนแอทำให้เชื้อบัคเตรีเข้าสู่ตัวปลาแสดงพิษออกมาได้ง่ายขึ้น ซึ่งสาเหตุดังกล่าวนั้นมักเกิดขึ้นเพราะ
1. น้ำเสีย หรือก้นบ่อมีเศษอาหารเน่าเสียหมักหมมอยู่มาก
2. การปล่อยปลามีจำนวนมากเกินไปในบ่อเดียวกัน
3. ตัวเบียน เช่น พวกสัตว์เซลล์เดียวและหนอนตัวกลม
4. ปลาขาดอาหารธาตุ และมีอาหารไม่เพียงพอในการเลี้ยง
5. น้ำเป็นกรด
ลักษณะของปลาดุกที่ป่วย
อาการของปลาดุกที่ป่วยเนื่องจากโรคโคนครีบหูบวม ท้องบวมแผลพุพองข้างตัว ครีบและหางฉีกขาด ฯลฯ ดังกล่าวข้างต้นนั้น จะสังเกตได้จากลักษณะอาการที่ปลาว่ายน้ำ ปลาที่ป่วยจะมีการว่ายน้ำและเคลื่อนไหววกวน ไม่มีทิศทาง ตัวแขวนตรงกับผิวน้ำ ชอบเสียดสีกับวัตถุหรือข้างบ่อโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปลาป่วยจะไม่ค่อยกินอาหารวิธีป้องกันรักษาไม่ให้ปลาดุกเป็นโรค ที่สำคัญที่สุดก็คือ ต้องพยายามทำให้ปลาอยู่ในสภาพที่แข็งแรงอยู่เสมอ โดยวิธีปฏิบัติดังนี้
1. พยายามถ่ายน้ำบ่อย ๆ เพื่อป้องกันน้ำเสียและเป็นการรักษาสภาพความเป็นกรดด่างของน้ำ ซึ่งตามปกติแล้วน้ำในบ่อเลี้ยงปลาดุกมักจะมีสภาพความเป็นกรดอย่างอ่อน ๆ เพราะสภาพความเป็นกรดจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเลี้ยงปลาดุกนานวันขึ้น โดยเฉพาะจะมีปริมาณฟอสฟอรัสและไนโตรเจนสูงมาก
2. อัตราการปล่อยปลาในบ่อ ไม่ควรให้แน่นเกินไป คือประมาณ 60-70 ตัว/ตารางเมตร ซึ่งนอกจากจะเป็นวิธีป้องกันรักษาโรคของปลาดุกแล้ว ยังลดค่าใช้จ่ายในแง่ของ
- ค่าพันธุ์ปลาที่ปล่อยลงเลี้ยง
- ค่าอาหารและแร่ธาตุต่าง ๆ เพราะการเลี้ยงปลาดุกจะให้อาหารตามจำนวนพันธุ์ปลา
- ค่ายารักษาโรค
- ค่าแรงงานและน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้สูบน้ำ
3. กำจัดโรคพยาธิที่เกาะตามตัวปลา โดยใช้ฟอร์มาลินและดิพเทอร์เร็กซ์ ใส่ลงในน้ำ
4. พยายามขุนอาหารให้เพียงพอกับความต้องการของปลา
5. ควรบดอาหารให้ละเอียดและเหนียว จะทำให้อาหารที่เหลือลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ ไม่จมลงไปเน่าอยู่ที่ก้นบ่อ เป็นการลดความสูญเสียของอาหารให้น้อยลงอีกด้วย นอกจากนี้วิธีการดังกล่าวข้างต้น การเตรียมบ่อในขั้นแรกก็เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่ง เพราะเมื่อเตรียมบ่อถูกวิธีแล้วจะทำให้การเลี้ยงปลาดุกได้ผลถึง 80%
No comments:
Post a Comment