ปลาทองมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น ต่อมาถูกนำไปเลี้ยงในยุโรปเมื่อศตวรรษที่ 17 และถูกนำไปเผยแพร่ในอเมริกา ในศตวรรษที่ 19 ชาวจีนและชาวญี่ปุ่นรู้จักผสมพันธ์ปลาทองมานานแล้วและได้ปลาทองลูกผสมที่น่าสนใจ มีสีหลากหลายตั้งแต่สีแดง สีทอง สีส้ม สีเทา สีดำและสีขาว แม้กระทั่งปลาทองสารพัดสีในตัวเดียวกัน ปลาทองมีชีวิตอยู่ตามแหล่งธรรมชาติจนกระทั่งมีชาวจีนบางคนได้จับมาเลี้ยงตามบ่อเพราะดูหน้าตาสวยดี สีสันแปลกตา สร้างความเพลิดเพลินใจได้เป็นอย่างดี จึงเลี้ยงสืบต่อกันมาเรื่อย ๆ ทำให้มีการแปรผันผันแปร และพัฒนาเรื่อยมา ประกอบกับความนิยมเลี้ยงที่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ปลาทองที่เลี้ยงมีรูปร่างหน้าตาเปลี่ยนแปรไป เช่น แต่เดิมปลาทองจะหาอาหารตามบ่อน้ำธรรมชาติเพื่อเลี้ยงชีวิตซึ่งต้องออกเรี่ยวออกแรง ไขมันส่วนเกินก็ไม่มี หุ่นก็เพรียวลม ครั้นย้ายมาอยู่ตามบ่อเลี้ยง อาหารปลาก็ถูกนำมาเสริฟกันถึงขอบบ่อ แถมเสริฟเป็นเวลาซะด้วย ทำให้ปลาทองบางตัวพุงป่องดูอ้วนตุ้ยนุ้ยขึ้นและหากลักษณะต่างๆดังกล่าวเกิดเป็นที่ประทับใจมนุษย์หรือคนดูคนชมว่าสวยแล้ว ก็จะถูกขุนขึ้นไปเรื่อยๆตามสูตร ปลาทองถูกมนุษย์เลี้ยงมาตั้งแต่อดีต ประมาณ พ.ศ. 1161-1450 หรือนับเป็นพันปีมาแล้ว ปลาทองในสภาพธรรมชาติที่ไม่ได้ถูกมนุษย์นำมาเลี้ยงนั้นก็ได้พัฒนาตัวเอง ทำมาหากินตามธรรมชาติ สืบทอดสายพันธ์มาจนถึงปัจจุบัน ก็แทบจะเป็นคนละปลาเดียวกันกับปลาทองของวันนี้เลย เพราะเมื่อพิจารณาดูจะพบว่าปลาใน ปลาตะเพียนทั้งหลายต่างก็อยู่ในเทือกเขาเหล่าตระกูลเดียวกันกับปลาทอง คือ FAMILY CYYPRNDAE
![]() |
ปลาทองหัวสิงห์จีน |
ลักษณะเด่นของปลาพันธุ์นี้ คือ มีส่วนหัวที่ใหญ่กว่าลำตัวมาก ส่วนวุ้นที่หัวมีมากและหนาแน่นกว่าสิงห์สายพันธุ์อื่น ในประเทศญี่ปุ่นได้แยกลักษณะวุ้นบนส่วนหัวของปลาคือ วุ้นมีขนาดเท่ากันเกือบทั้งหมดบนหัวเรียกว่า ชิชิงาชิระ (Shishigashira) วุ้นมีมากเฉพาะกลางหัวเรียกว่า โทกิง (Tokin) วุ้นมีทั้งบนหัวและที่ฝาเหงือกทั้งสองข้างเรียกว่า โอคาเหมะ (Okame) แต่โดยทั่วไปนิยมเรียกปลาที่มีวุ้นบนหัวว่า รันชู (Ranchu) ส่วนหลังของปลาลาดโค้งเพียงเล็กน้อยและไม่มีครีบบนหลัง หางจะหนาและใหญ่กว่าสิงห์พันธุ์อื่นๆ ปลาส่วนมากมีสีแดง และโตตามขนาดบ่อที่เลี้ยงได้ประมาณ 20-25 ชม.
![]() |
ปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น |
เป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากสิงห์จีนโดยประเทศญี่ปุ่น หลังของปลาจะโค้งมากกว่าสิงห์จีน มีวุ้นอยู่บนส่วนหัว แก้ม เหนือริมฝีปาก และที่คาง หลังของปลาจะต้องโค้งจนคนในวงการปลาเปรียบเทียบไว้ว่า หลังโค้งไข่ผ่าซีก ครีบหางต่อกับลำตัวเป็นมุมแหลมเฉียงขึ้น 45 องศา ครีบทวารมีทั้งเดี่ยวและคู่ มีสีแดงและขาวสลับแดง
![]() |
ปลาทองหัวสิงห์ลูกผสม |
เป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์ให้สวยขึ้นโดยประเทศไทย ซึ่งนำเอาจุดเด่นของปลาสิงห์จีนและญี่ปุ่นมารวมเข้าไว้ด้วยกัน เพราะปลาสิงห์ญี่ปุ่นเพาะพันธุ์ได้ค่อนข้างยาก และลูกปลาที่คัดแล้วมีความสวยงามเหมือนพ่อแม่ปลาจะมีน้อยมาก ทำให้ปลามีราคาสูง การนำปลาสิงห์จีนมาผสมข้ามพันธุ์กัน ทำให้ได้ลูกปลาที่ทรงสวยงามเพิ่มมากขึ้น สิงห์ลูกผสมจะมีวุ้นบนหัวน้อยกว่าสิงห์จีนเล็กน้อย แต่หลังจะโค้งมากกว่าจนเกือบใกล้เคียงสิงห์ญี่ปุ่น
![]() |
ปลาทองหัวสิงห์สยาม |
4. ปลาทองหัวสิงห์สยาม (Siamese lionhead)
เป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์ให้สวยขึ้นโดยประเทศไทย มีทรงและลักษณะเหมือนสิงห์ลูกผสม แต่มีสีทุกส่วนของลำตัวปลาเป็นสีดำทั้งหมด
![]() |
ปลาทองสิงห์ตากลับ |
5. ปลาทองสิงห์ตากลับ (Celestial goldfish)
มีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน เรียกว่า โซเตนกัน ญี่ปุ่นเรียกว่า เดเมรันชู ส่วนหัวของปลามีวุ้นเล็กน้อย ลำตัวและทรงคล้ายสิงห์จีน แต่มีลำตัวที่ยาวกว่าสิงห์จีนมาก มีสีแดง
ยังไม่จบอ่านต่อพรุ่งนี้นะครับ
No comments:
Post a Comment