Monday 18 April 2011

ปลาฉลามหัวค้อน

ชื่อไทย : ฉลามหัวค้อนสั้น, อ้ายแบ้สั้น
ชื่อสามัญ : SQUAT-HEADED HAMMER HEAD SHARK
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sphryna tudes (Valenciennes)

ปลาฉลามหัวค้อนหรืออ้ายแบ้ (Hammerhead sharks) เป็นปลาฉลามที่มีรูปร่างแปลกสะดุดตามากกว่าชนิดอื่นๆ ส่วนหัวที่แบนและยื่นยาวออกเป็นก้านคล้ายปีกสองข้าง หัวจึงดูคล้ายหัวค้อนที่ใช้ตอกตะปู ตาแยกห่างออกจากกันอยู่ตรงปลายสุดของปีกที่ยื่นยาวออกไป ปลาฉลามหัวค้อนที่พบในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ ปลาฉลามหัวค้อนยาว (Eusphyra blochii) และปลาฉลามหัวค้อนสั้น (Sphyrna tudes)

ปลาฉลามหัวค้อน
ส่วนหัวของปลาฉลามหัวค้อนที่มีลักษณะแบนราบและแผ่ออกคล้ายปีกทั้งสองข้าง ช่วย ทำให้เกิดแรงยกตัวขึ้นทางด้านหน้า ช่วยให้พุ่งตัวขึ้นตามแนวตั้งได้รวดเร็ว ยังใช้รับความรู้สึกบางอย่างและยังช่วยลดแรงต้านของน้ำให้เหลือน้อย ที่สุดในเวลาเอี้ยวหัวไปมา จึงสะดวกในการไล่งับเหยื่อที่ว่องไวได้ดี

ปลาฉลามหัวค้อนทุกชนิดออกลูกเป็นตัว มีลูกครอกละ 4-37 ตัว การผสมพันธุ์เกิดก่อนไข่ตกในรังไข่ประมาณ 2 เดือน ตัวเมียเก็บน้ำเชื้อไว้ในต่อมสร้างเปลือกไข่ ไข่เจริญมาจากรังไข่ข้างขวาที่จะทำหน้าที่เพียงข้างเดียว ลูกอ่อนในมดลูกได้รับออกซิเจนและอาหารจากถุงไข่แดงและจากพู่เหงือก ซึ่งจะหดหายไปเมื่อโตขึ้นมา

No comments: