Sunday 3 April 2011

ปลาผีเสื้อ (Butterflyfish)

ปลาผีเสื้อ (Butterflyfish)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Chaetodon lunulatus ปลาผีเสื้ออยู่ในครอบครัว Chaetodontidae พบประมาณ 120 ชนิดทั่วโลก ในเมืองไทยพบไม่ต่ำกว่า 25 ชนิด โดยพบได้ทั้งในอ่าวไทยและในทะเลอันดามัน ปลาผีเสื้อกินปะการังเป็นอาหาร จึงเป็นสัตว์ที่มีความเกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ของแนวปะการัง นักวิทยาศาสตร์ใช้ปลาผีเสื้อ เป็นเกณฑ์กำหนดความสมบูรณ์ของแนวปะการัง

ปลาผีเสื้อเป็นปลาที่สวยงาม มีความสำคัญต่อระบบนิเวศแนวปะการัง รวมถึงการศึกษาวิจัยทางชีววิทยาทางทะเล นอกจากนั้นยังมีสีสันสวยงาม นักดำน้ำทั้งแบบ Snorkelling และแบบ SCUBA ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ปลาผีเสื้อยังมีความสำคัญต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับท้องทะเล เนื่องจากเป็นปลาที่หาได้ง่าย มีพฤติกรรมน่าสนใจ รวมทั้งเกี่ยวข้องกับสายสัมพันธ์ของระบบนิเวศแนวปะการังอย่างชัดเจน

ปลาผีเสื้อ (Butterflyfish)
ลักษณะปลาผีเสื้อ
- ปลาผีเสื้อมีลำตัวสั้น แลนด้านข้าง ปากมีขนาดเล็กอาจยืดหดได้ ภายในปากมีฟันละเอียด

- ครีบหลังมีอันเดียว ประกอบด้วยก้านครีบแข็งอยู่ส่วนหน้า และก้านครีบอ่อนอยู่ถัดไป ครีบทวารมีก้านครีบแข็ง 3 อัน และแผ่นยื่นรับกับครีบหลัง

- ปลาผีเสื้อมีนิสัยเฉื่อยชา ว่ายน้ำหรือเคลื่อนไหวไปอย่างช้าๆ ไม่ว่องไวเหมือนปลาอื่นๆ

- เป็นปลาที่หากินเวลากลางวัน เมื่อพลบค่ำจะหลบเข้าไปหาที่หลับนอนตามซอกหิน หรือโพรงปะการัง ในเวลากลางคืนปลาผีเสื้อจะเปลี่ยนสีตัวเองให้เข้มขึ้นโดยจะเป็นแต้มสีน้ำตาล หรือแถบสีเทาก็เพื่อให้ปลอดภัยจากอันตรายและสัตรู

No comments: