Friday 22 July 2011

ปลาหมอสีฟรอนโตซ่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cyphotilapia frontosa (Boulenger, 1906)
ชื่อสามัญ Humphead cichlid, frontosa cichlid

ปลาหมอสีฟรอนโตซ่า เป็นปลาหมอสายพันธุ์แท้ที่มีแหล่งกำเนิดมาจากทะเลสาปแทงแกนยีกา ในทวีปแอฟริกา ด้วยความสวยงามของปลาชนิดนี้ ซึ่งมีสีฟ้าอมม่วงที่แปลกตาประกอบกับลายดำคาดตลอดลำตัว และ ครีบต่างๆ ของตัวปลา จึงได้มีการนำปลาชนิดนี้มาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามในปัจจุบัน แต่เนื่องด้วยตลาดของปลาชนิดนี้ที่ค่อนค้างแคบในบ้านเรา และราคาของปลาที่ค่อนค้างสูง ทำให้ยังไม่มีผู้เลี้ยงปลาชนิดนี้มากเท่าที่ควร

ปลาหมอสีฟรอนโตซ่า
ลักษณะทั่วไปของปลาปลาหมอสีฟรอนโตซ่า
ปลาหมอสีฟรอนโตซ่า ปกติเป็นปลาที่พบได้บริเวณที่มีน้ำลึก ตั้งแต่ 5 เมตร โดยที่บริเวณดังกล่าวมีแนวโขด ปลา ชนิดนี้อยู่ร่วมกันเป็นฝูง และปกติพบตัวผู้ที่เป็นหัวหน้าฝูงอยู่กับตัวเมียหลายๆตัว ชื่อของปลาชนิดนี้มาจาก ลักษณะบริเวณหัวที่มีโหนกออกมาโดดเด่น โดยเฉพาะในตัวผู้ ส่วนตัวเมีย มีหัวที่ค่อนข้างมนกลม ปลาชนิดนี้อาศัยอยู่ในบริเวณที่เป็นโขดหิน และพื้นเป็นทราย เป็นปลาชนิดที่อมไข่ ตัวผู้มีขนาดยาวได้ถึง 12 -1 3 นิ้ว ในขณะที่ตัวเมียส่วนใหญ่มีขนาดไม่เกิน 8 - 9 นิ้ว

ปลาหมอฟรอนโตซ่า เป็นปลาที่มีลักษณะเพรียว ครีบยาวมีลักษณะสวยงาม ฟรอน โตซ่า เป็นปลาที่มีการเคลื่อนไหวในลักษณะค่อนข้างช้าไม่รวดเร็วนอกจากเวลาที่ถูก ไล่หรือต้อน กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำที่มีเปลือกอ่อนต่างๆ แต่พวกที่มีขนาดใหญ่จำพวกที่กินเนื้อ(Piscivore) โดยมีลักษณะของฟันที่แหลมคมเรียงกันอยู่บริเวณกระพุ้งแก้ม

การเพาะพันธุ์ปลาฟรอนโตซ่า
ปลาฟรอนโตซ่าเป็นปลาที่ผสมพันธุ์ และมีการเลี้ยงตัวอ่อนอยู่ในปาก หรือบริเวณกระพุ้งแก้ม จึงซึ่งเรียกว่า ปลาอมไข่ โดยตัวเมียเป็นผู้ดูแลตัวอ่อน ซึ่งปริมาณของตัวอ่อนที่ได้ประมาณ 10 - 60 ตัว แต่มีบางสายพันธุ์ หรือในบางกรณีที่ปลายังไม่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เต็มที่ อาจทำให้ปริมาณตัวอ่อนที่ได้น้อยลง ตลอดจนสภาพแวดล้อมหรือสถานที่เพาะเลี้ยงก็มีส่วนสำคัญ กับปริมาณของตัวอ่อน โดยเวลาที่ผสมพันธุ์กัน ตัวผู้ส่งสัญญาณให้ตัวเมียตามมันไปในบริเวณถ้ำ หรือโขดหิน ปลาหมอชนิดนี้เป็นปลาที่สืบพันธุ์โดยปลาเพศเมียอมไข่ทันทีหลังจากที่ได้รับ การปฏิสนธิจากปลาตัวผู้ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวเกือบ 4 - 5 อาทิตย์

No comments: