Tuesday, 30 November 2010

ข้อแนะนำเบื้องต้นในการเลี้ยงปลาทะเล

แนะนำการเลี้ยงปลาทะเลเบื้องต้น
เลือกซื้อปลาทะเลใหม่
ควรเลือกปลาทะเลที่มีสีสันสดใส ครีบสมบูรณ์ไม่แหว่งหรือขาด ร่าเริง ว่ายน้ำตลอดเวลาไม่เซื่องซึมหรือหลบตามมุมตู้ ยกเว้นปลาทะเลบางชนิดก็ชอบอยู่ตามก้นตู้หรือซอกปะการัง

ปรับอุณหภูมิในน้ำ
ก่อนนำปลาทะเลลงตู้ ควรจะทำการปรับอุณหภูมิของน้ำในถุงปลาทะเลที่เพิ่งซื้อให้เท่ากับตู้ปลาทะเลก่อน โดยนำถุงปลาทะเลมาแช่ไว้ในตู้ปลาทะเล โดยก่อนที่จะทำการแช่ถุงควรจะล้างถุงให้สะอาดก่อนแล้วทำการแช่ถุงในตู้ปลาทะเลสักระยะเวลาหนึ่งแล้วค่อยนำปลาทะเลออกมาใส่ในตู้

การนำปลาทะเลลงตู้ ในการซื้อปลาทะเลมาใหม่ควรจะมีตะแกรงหรือกล่องพลาสติกใสที่เจาะรูไว้เพื่อใส่ปลาทะเลหลังจากได้ปรับอุณหภูมิให้เท่ากันแล้ว โดยนำปลาทะเลมาใส่ไว้ในตะแกรงซักพักหนึ่ง ก่อนปล่อยปลาทะเลลงตู้เพื่อให้ปลาทะเลได้คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมใหม่

การเลี้ยงปลาทะเลเบื้องต้น
การให้อาหารปลาทะเล
การให้อาหารปลาทะเล ก่อนให้ไรทะเลแก่ปลาควรจะทำการล้างด้วยน้ำก่อนที่จะให้ปลาทะเลกิน ชนิดของอาหาร ควรจะเปลี่ยนอาหารให้ปลาทะเลไปเรื่อยๆ เพราะจะทำให้ปลาทะเลไม่เบื่อและได้คุณค่าทางสารอาหารครบถ้วนด้วย แต่ไม่ต้องบ่อยมากนัก การให้ไข่สัตว์แก่ปลาทะเล เป็นอาหารจะทำให้ปลาทะเลมีสีสนสดใส แต่ควรให้ในปริมาณน้อยๆ เพราะไข่สัตว์นั้นย่อยยาก อาจทำให้ปลาท้องอืดได้



เครื่องทำความเย็นในตู้ปลา
อุณหภูมิของน้ำในตู้ปลาทะเล ควรมีเครื่องทำความเย็นเอาไว้ประจำตามตู้ เพราะตามธรรมชาติน้ำทะเลจะมีอุณหภูมิไม่สูงประมาณ 25-28 องศาเซลเซียส ถ้าน้ำร้อนหรือเย็นเกินไปจะทำให้สัตว์น้ำทะเลและปะการังตายได้

Monday, 22 November 2010

การเลี้ยงปลาทะเล

การเลี้ยงปลาทะเลในตู้ สิ่งสำคัญอันดับแรกๆของการเลี้ยงปลาสวยงามโดยเฉพาะปลาทะเล คือสี่งที่อยู่ในช่องกรองก็มีอยู่หลายชนิดที่นิยมใช้ เช่น เศษปะการัง เปลือกหอย ไบโอบอล ไบโอริง ใส่เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของแบคทีเรียในการย่อยสลายของเสียที่เกิดขึ้นใน น้ำ การออกแบบวัสดุต่างๆส่วนมากจะออกแบบมาให้มีพื้นที่หน้าสัมผัสมากกว่าปกติ เพื่อสร้างเป็นที่อยู่อาศัยของแบคทีเรีย และเพิ่มปริมาณออกซิเจนในระบบ วัสดุกรองเหล่านี้มีความแตกต่างกันซึ่งผมจะขออธิบายเพื่อให้เป็นตัวเลือก ประกอบการตัดสินใจในการเลือกใช้สำหรับผู้ที่สนใจและกำลังจะเริ่มเลี้ยงปลา ทะเล

การจัดตู้ปลาทะเล
เศษประการัง
คุณสมบัติที่ดีของเศษปะการัง คือ มีรูพรุนมาก การใส่เศษปะการังควรที่จะใส่เบอร์ใหญ่ด้านล่าง แล้วค่อยไล่ขึ้นมาเป็นเบอร์ละเอียด การใช้วัสดุชนิดนี้ระบบภายในตู้จะอยู่ตัวเร็วกว่าวัสดุชนิดอื่น แต่จะมีปัญหาเศษฝุ่นแก้ไขโดยการใช้ใยแก้วเป็นตัวกรองด้านบน อีกปัญหาหนึ่งคือสารเคมีที่ใช้ฟอกขาว ดังนั้นก่อนนำวัสดุชนิดนี้มาใช้ควรแช่น้ำไว้ก่อน

ไบโอบอล
เป็นวัสดุที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทดแทนปะการัง ผิวหน้าของไบโอบอลจำนวนมากเป็นที่อยู่อาศัยอย่างดีของแบคทีเรียเช่นเดียวกับ รูพรุนของเศษปะการัง และไบโอบอลมีน้ำหนักเบา ซึ่งมีความสะดวกมากในการใช้งาน ราคาจะถูกกว่าเศษปะการัง และที่สำคัญไม่ผิดกฏหมายด้วย

ไบโอริง
เป็นวัสดุที่สร้างขึ้นมาเลียนแบบเศษปะการังซึ่งนับเป็นวัสดุที่มีความใกล้ เคียงเรื่องคุณสมบัติ โดยเฉพาะเรื่องรูพรุนที่เป็นที่อยู่อาศัยของแบคทีเรีย แต่กลับไม่นิยมใช้เพราะราคาของไบโอริงแพงมาก แต่ด้วยประสิทธิภาพสูง ผมคิดว่าไบโอริงเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่ง

เปลือกหอย
เปลือกหอยเป็นวัสดุที่หาง่ายราคาถูก ระบบภายในตู้เกิดการเซตตัวได้เร็ว ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกนะครับ โดยเฉพาะคนที่ทุนน้อยแต่ใจรัก

ระบบกรองน้ำ
ระบบกรองน้ำตู้ปลาทะเลเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในระบบปิด เพื่อที่จะใช้จัดการกับของเสียของสี่งมีชีวิต เพื่อให้สภาพน้ำในระบบมีความใกล้เคียงกับสภาพน้ำในธรรมชาติมากที่สุดโดยได้ มีการออกแบบช่องกรอง วัสดุกรอง การบังคับทิศทางการไหลของน้ำ สถาพโครงสร้างทางนิเวศ์จำลองในตู้

สิ่งต่างๆที่ได้กล่าวมานี้คือสิ่งที่สำคัญที่สุดในการเลี้ยงปลาทะเลในตู้ และที่สำคัญอีกอย่าง รักปลาสวยงามแล้วอย่าลืมรักธรรมชาติด้วยนะครับ

Saturday, 20 November 2010

การเลี้ยงปลาทะเล

ปัจจัยในการเลี้ยงปลาทะเล
1. การเลือกสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง
สิ่งสำคัญในการเลือกชนิดของสิ่งมีชีวิตที่จะนำมาเลี้ยงนั้นคือความเหมาะสมของสภาพแวดล้อม ขนาดของตู้ และความเข้ากันได้ของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ การเลี้ยงปลาที่มากเกินไปนอกจากจะทำให้คุณภาพของน้ำแย่ได้ง่ายแล้ว บางครั้งอาจทำให้ปลาเครียดจากการแย่งที่อยู่ จากการกัดกัน เนื่องด้วยปลาทะเลส่วนใหญ่จะเป็นปลาที่หวงถิ่นและบางชนิดสามารถเลี้ยงได้ชนิดละ 1 ตัวเท่านั้นภายในตู้ ดังนั้นเราจึงควรทำการศึกษาถึงลักษณะการใช้ชีวิตและรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของสิ่งมีชิวิตที่เราสนใจจะนำมาเลี้ยง นอกจากนี้อีกสิ่งที่ต้องคำนึงคือสิ่งมีชีวิตบางชนิดเลี้ยงยากเนื่องจากเงื่อนไขในการดำรงชีวิตหลายๆอย่าง และบางชนิดอาจเลี้ยงไม่ได้เลยในระบบปิด หรืออาจมีอายุขัยสั้น ซึ่งสิ่งมีชีวิตต่างๆเหล่านี้อาจจะมีสีสันสวยงามสะดุดตา และปะปนไปตามร้านขายปลาทะเล ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงต้องศึกษาและควรหลีกเลี่ยงที่จะนำสิ่งมีชีวิตเหล่านี้มาเีลี้ยงเพื่อเป็นการอนุรักษ์สัตว์เหล่านี้ให้อยู่ตามธรรมชาติของมันต่อไป



การเลี้ยงปลาทะเล
2. การให้อาหารและแร่ธาตุเสริม
ปลาทะเลส่วนมากสามารถให้อาหารสำเร็จรูปให้กินได้ ซึ่งมีทั้งแบบเม็ดเล็ก เม็ดใหญ่แบบแผ่น ต่างกันออกไป แต่ปลาบางชนิดอาจกินเฉพาะอาหารสดเท่านั้น ซึ่งเราสามารถให้ไรทะเลเป็นอาหารไ้ด้ โดยที่ไรทะเลนั้นก็มีทั้งแบบเป็นๆ และแบบแช่แข็ง ซึ่งสำหรับปลาบางชนิดอาจสามารถฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ตามเทคนิคแต่ละคน สำหรับระยะยาวแล้วการให้ไรทะเลเป็นอาหารอย่างเดียวอาจให้สารอาหารที่ไม่เพียงพอ ซึ่งอาจจะสลับให้อาหารสดเช่นกุ้งสับ หอยสับ สาหร่าย ต่างๆกันเพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหารหรือให้อาหารต่างๆกันไปในแต่ละมื้อก็ได้เพราะจะทำให้ปลาไม่เบื่อด้วย สำหรับกรณีที่มีการเลี้ยงปะการังอาจจะัต้องมีการใส่แร่ธาตุเสริมด้วยซึ่งแตกต่างกันออกไปตามชนิดของปะการัง ที่นิยมได้แก่ แคลเซียมสำหรับปะการังโครงแข็ง ,ไอโอดีน และอื่น ๆ

Wednesday, 3 November 2010

การเลี้ยงปลาทะเล

ปัจจัยในการเลี้ยงปลาทะเล
1. การปูพื้น
สิ่งที่จะนำมาปูพื้นนั้นมีได้หลายอย่างเช่น เศษปะการัง ซึ่งมีความละเอียดแตกต่างกันไปที่นิยมได้แก่เศษปะการังเบอร์ 0 และที่นิยมอีกอย่างนึงคือทรายเป็น ซึ่งเป็นทรายละเอียดจากทะเลที่มีสิ่งมีชีวิตเล็กๆอาศัยอยู่ ซึ่งบางทีเราอาจใช้ทรายละเอียดธรรมดาปูก็ได้ ซึ่งภายหลังจะมีสิ่งมีชีวิตจาก หินเป็น ไปอาศัยอยู่และกลายเป็น ทรายเป็น ในที่สุด ซึ่งปกติแล้วเราจะปูทรายค่อนข้างหนา ( โดยเฉลี่ย 4 นิ้ว ) เนื่องจากต้องการให้บริเวณล่างๆของพื้นทรายนั้นเป็นส่วนที่ไม่มีอ๊อกซิเจนและจะเป็นที่อยู่ของแบคทีเรียชนิดที่ไม่ใช้อ๊อกซิเจน ซึ่งจะมีประโยชน์ในระบบการย่อยสลายของเสียภายในตู้ ซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป สำหรับข้อเสียบางอย่าง
ที่เกิดขึ้นคือ จะเกิดคราบดำๆที่ทรายเมื่อตู้มีอายุ ซึ่งจะทำให้ดูไม่สวยงาม



การเลี้ยงปลาทะเล
2. การลงปลาและสิ่งมีชีวิต
หลังจากที่เราเซตตู้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการลงปลา ซึ่งสำหรับการลงปลานั้น เราไม่ควรที่จะลงปลาทีละมากๆ เนื่องจากระบบยังรองรับของเสียได้ไม่ทัน ดังนั้นเราจึงต้องค่อยๆลงปลาทีละ 1-2 ตัวเท่านั้น เพื่อที่แบคทีเรียจะได้สามารถกำจัดของเสียที่เกิดขึ้นได้ทันและแบคทีเรียจะทำการเพิ่มปรืมาณมากขึ้น ซึ่งระยะห่างในการลงปลาแต่ละครั้งควรจะเว้นไว้อย่างน้อย 1-2 อาทิตย์ สำหรับปลาบางชนิดจะสามารถเลี้ยงได้ในตู้ที่มีอายุนานแล้วเท่านั้น ( 3-6 เดือน ) เช่นปลาตระกูลแทงค์ เนื่องจากปลาเหล่านี้เป็นปลาที่ขับถ่ายของเสียปริมาณมาก จึงจำเป็นต้องเลี้ยงภายในตู้ที่ค่อนข้างเสถียรแล้วสำหรับขั้นตอนการลงปลา ไม่ใช่เพียงซื้อปลามาแล้วเทจากถุงใส่ตู้ทันที เนื่องจากปลาอาจเกิดการช๊อคน้ำได้ และอาจตายได้ในเวลาต่อมา เราจึงต้องทำการปรับอุณหภูมิและปรับความเค็มก่อน ซึ่งการปรับอุณหภูมิทำได้โดยการลอยถุงปลาไว้ที่ผิวน้ำในตู้ก่อนปล่อยลงตู้เป็นเวลา20-60 นาที ส่วนการปรับความเค็มนั้นทำได้โดยการค่อยๆผสมน้ำในตู้ของเรากับน้ำที่มาจากร้าน ซึ่งอาจจะทำในภาชนะอื่นก็ได้และจะเป็นการปรับอุณหภูมิไปด้วยภายในตัว สำหรับตู้ที่ทำการเลี้ยงสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอาจต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของน้ำที่มากับร้าน เนื่องจากน้ำจากบางร้านอาจจะไม่มีคุณภาพหรืออาจใส่ยาที่เป็นอันตรายต่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังภายในตู้ของเรา และเพื่อลดความเครียดของปลาอาจปล่อยปลาในขณะที่ปิดไฟตู้และยังไม่ต้องให้อาหาร เนื่องจากปลายังต้องใช้เวลาในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม