Tuesday 30 November 2010

ข้อแนะนำเบื้องต้นในการเลี้ยงปลาทะเล

แนะนำการเลี้ยงปลาทะเลเบื้องต้น
เลือกซื้อปลาทะเลใหม่
ควรเลือกปลาทะเลที่มีสีสันสดใส ครีบสมบูรณ์ไม่แหว่งหรือขาด ร่าเริง ว่ายน้ำตลอดเวลาไม่เซื่องซึมหรือหลบตามมุมตู้ ยกเว้นปลาทะเลบางชนิดก็ชอบอยู่ตามก้นตู้หรือซอกปะการัง

ปรับอุณหภูมิในน้ำ
ก่อนนำปลาทะเลลงตู้ ควรจะทำการปรับอุณหภูมิของน้ำในถุงปลาทะเลที่เพิ่งซื้อให้เท่ากับตู้ปลาทะเลก่อน โดยนำถุงปลาทะเลมาแช่ไว้ในตู้ปลาทะเล โดยก่อนที่จะทำการแช่ถุงควรจะล้างถุงให้สะอาดก่อนแล้วทำการแช่ถุงในตู้ปลาทะเลสักระยะเวลาหนึ่งแล้วค่อยนำปลาทะเลออกมาใส่ในตู้

การนำปลาทะเลลงตู้ ในการซื้อปลาทะเลมาใหม่ควรจะมีตะแกรงหรือกล่องพลาสติกใสที่เจาะรูไว้เพื่อใส่ปลาทะเลหลังจากได้ปรับอุณหภูมิให้เท่ากันแล้ว โดยนำปลาทะเลมาใส่ไว้ในตะแกรงซักพักหนึ่ง ก่อนปล่อยปลาทะเลลงตู้เพื่อให้ปลาทะเลได้คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมใหม่

การเลี้ยงปลาทะเลเบื้องต้น
การให้อาหารปลาทะเล
การให้อาหารปลาทะเล ก่อนให้ไรทะเลแก่ปลาควรจะทำการล้างด้วยน้ำก่อนที่จะให้ปลาทะเลกิน ชนิดของอาหาร ควรจะเปลี่ยนอาหารให้ปลาทะเลไปเรื่อยๆ เพราะจะทำให้ปลาทะเลไม่เบื่อและได้คุณค่าทางสารอาหารครบถ้วนด้วย แต่ไม่ต้องบ่อยมากนัก การให้ไข่สัตว์แก่ปลาทะเล เป็นอาหารจะทำให้ปลาทะเลมีสีสนสดใส แต่ควรให้ในปริมาณน้อยๆ เพราะไข่สัตว์นั้นย่อยยาก อาจทำให้ปลาท้องอืดได้



เครื่องทำความเย็นในตู้ปลา
อุณหภูมิของน้ำในตู้ปลาทะเล ควรมีเครื่องทำความเย็นเอาไว้ประจำตามตู้ เพราะตามธรรมชาติน้ำทะเลจะมีอุณหภูมิไม่สูงประมาณ 25-28 องศาเซลเซียส ถ้าน้ำร้อนหรือเย็นเกินไปจะทำให้สัตว์น้ำทะเลและปะการังตายได้



แสงไฟในตู้ปลา
แสงในตู้ปลาทะเล ควรเปิดไฟในเวลากลางวันและปิดในเวลากลางคืนเพื่อให้ปลาทะเลได้มีเวลาพักผ่อนบ้าง หลอดไฟ ในตู้ปลาทะเลควรจะใช้หลอดไฟเป็น actinicbluelight,daylight,trichromaticlightหรือ metalhalide ในตู้ปลาทะเลที่มีปะการัง เพราะปะการังจะใช้แสงจากหลอดไฟในการสังเคราะห์แสงทำให้มีการเจริญเติบโต

ปั๊มน้ำและปั๊มออกซิเจน
ปั้มน้ำ ควรจะมีไว้ตามตู้เพื่อทำให้เกิดน้ำเคลื่อนไหว หมุนเวียนเหมือนมีคลื่นตามท้องทะเล ปั้มออกซิเจน ควรจะมีปั้มออกซิเจนแบบใช้ถ่านประจำไว้ตามตู้ปลาทะเล เพื่อว่าหากไฟดับจะได้ใช้ปั้มนี้ให้ออกซิเจนแก่ปลาทะเลแทน เป็นการป้องกันปลาขาดออกซิเจนแล้วตายได้

น้ำเค็ม
ค่า pH ของน้ำ ควรระวังไม่ให้น้ำมี pH มากหรือน้อยเกินไป เพราะอาจทำให้สิ่งมีชีวิตในตู้ตายได้ pH ที่เหมาะสมในตู้ควรอยู่ระหว่าง 7.9-8.5 น้ำเค็มที่ใช้เลี้ยง ถ้าให้ดีควรใช้น้ำทะเลจริงๆ จะดีกว่าใช้น้ำเค็มวิทยาศาสตร์ เพราะจะให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเหมือนเดิมมากกว่า โดยน้ำทะเลควรจะมีความหนาแน่นของน้ำหรือความถ่วงจำเพาะ ประมาณ 1.022-1.024 โดยใช้ hydrometer ในการวัด

ตู้ปลาทะเล
ขนาดของตู้ปลาทะเล ถ้าตู้ปลามีขนาดใหญ่จะทำให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงได้น้อยกว่า และสามารถควบคุมได้ดีกว่า อีกทั้งยังมีที่ให้ปลาทะเลได้แหวกว่ายกันอีกด้วย ตำแหน่งของตู้ปลาทะเล ควรวางตู้ปลาไว้ในที่โล่งหน่อย ไม่ควรจะชิดผนังมากนัก เพื่อที่เราจะได้จัดตู้ได้สะดวกขึ้น และไม่ควรวางในที่แสงแดดส่องถึง เพราะจะทำให้อุณหภูมิของตู้ปลาเปลี่ยนแปลงไป ที่วางตู้ปลา ขาตั้งของตู้ปลาควรจะทำจากไม้ หรือวัสดุอื่นที่ไม่ใช้เหล็ก เพราะจะได้ไม่เกิดสนิม และเพื่อความคงทนถาวร

ปลาทะเลป่วย
เมื่อปลาเป็นโรค ควรจะนำปลาที่เป็นโรคแยกออกจากตู้ไปไว้อีกตู้หนึ่งก่อน เพื่อป้องกันปลาทะเลตัวอื่นติดโรคด้วย แล้วทำการรักษาจนหายดี จึงนำกลับลงตู้ตามเดิม

1 comment:

emmosea said...

ฉันรักปลา ขอขอบคุณสำหรับการแสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจนี้

Plastics Thailand