Wednesday, 29 September 2010

ปลาอะราไพม่า (Arapaima)

ปลาอะราไพม่าเป็นปลาอะโรวาน่าอีกชนิดหนึ่งที่พบอยู่ในทวีปอเมริกาใต้แถบลุ่มน้ำอะเมซอน แม่น้ำโอริโนโค ประเทศบราซิล เปรูและโคลัมเบียปลาอะโรวาน่าชนิดนี้จัดว่าเป็นปลาในตระกูลอะโรวาน่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ขนาดโตเต็มที่จะมีความยาวถึง 4.5 เมตร น้ำหนักราว 400 กิโลกรัม ซึ่งปลาชนิดนี้เป็นปลาที่ร้จักกันดีในหมู่ชาวพื้นเมืองแถบลุ่มน้ำอะเมซอน ซึ่งคนพื้นเมืองนิยมบริโภคปลาชนิดนี้เช่นเดียวกับความนิยมบริโภคปลาช่อนในบ้านเรา ชาวเปรูมักเรียกปลาอะราไพม่าว่า PAICHE ส่วนชื่อพิรารูคูเป็นชื่อที่ชาวพื้นเมืองในบราซิลใช้เรียกขานกันปลาอะราไพม่าเป็นปลาที่มีรูปร่างผิดแผกแตกต่างไปจากปลาอะโรวาน่าชนิดอื่น ๆ โดยสิ้นเชิง จนแทบไม่น่าเชื่อว่าปลาชนิดนี้จะถูกจัดรวมไว้ในตระกูลเดียวกับปราอะโรวาน่าด้วยซ้ำเพราะปลาชนิดนี้มีลำตัวค่อนข้าวกลมและเรียวยาว ไม่แบนข้างมากเหมือนปราอะโรวาน่าทั่ว ๆ ไป

ปลาอะราไพม่า (Arapaima)
ลักษณะรูปร่างของอะราไพม่า (Arapaima)
มีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาช่อนของบ้านเรามากเพียงแต่ปลาอะราไพม่าจะมีลำตัวและเกล็ดขนาดใหญ่กว่ามาก ส่วนหัวมีลักษณะแข็งมาก ส่วนลำตัวด้านท้ายมีลักษณะแบนกว้างในขณะที่ปลายังเล็กพื้นลำตัวจะมีสีเขียวเข้มและลำตัวส่วนที่ค่อนไปทางหางจะเป็นสีดำ เมื่อปลาโตขึ้นบริเวณลำตัวส่วนที่ค่อนไปทางหางครีบและหาง จะปรากฏจุดสีชมพูปนแดงหรืสีบานเย็นประแต้มกระจายอยู่ทั่วไปแลดูสวยงามมาก ปราอะโรวาน่าชนิดนี้เป็นปลาที่ไม่มีหนวดเหมือนกับปลาอะโรวาน่าชนิดอื่น จัดว่าเป็นปลาที่มีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็วที่สุดในบรรดาปลาอะโรวาน่าทั้งหมด เฉลี่ยภายในเวลาเพียง 1 ปี ปลาชนิดนี้มีอัตราการเจริญเติบโตโดยถัวเฉลี่ยน้ำหนักเพิ่มขึ้น 3 - 5 กิโลกรัมภายในที่เลี้ยง ซึ่งการเจริญเติบโตเช่นนี้บว่าเป็นเรื่องที่น่าวิตกสำหรับนักเลี้ยงปลาเป็นอย่างมากเนื่องจากเมื่อปลาโตขึ้นแล้วจะไม่มีสถานที่เหมาะสมสำหรัลเสียงปลาชนิดนี้

ปลาอะโรไพม่านนอกจากจะเป็นปลาที่มีอัตราการเจิรญเติบโตที่น่ากลัวแล้ว ยังเป็นปลาที่มีอัตราการแพร่ขยายพันธุ์ที่รวดเร็วอีกด้วย แม่ปลา 1 ตัว (อายุ 4-5 ปี) สามารถวางไข่ได้ถึง 180,000 ฟอง ไข่ของปลาปลาชนิดนี้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราว 4/8-1/4 นิ้ว จัดว่าเป็นปลาที่ได้รับความนิยมจากทั่วโลกอีกชนิดหนึ่ง

จุดเด่นของปลา อะราไพม่า
ความใหญ่โตซึ่งสามารถสร้างความตื่นตะลึงให้แก่ผู้พบเห็น ในประเทศญี่ปุ่น ปลาชนิดนี้ได้รับความสนใจมาก ถึงกับเคยมีห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งได้นำปลาชนิดนี้ไปโชว์ได้รับความสนใจจากประชาชน สำหรับในประเทศไทยปลาชนิดนี้ได้รับความนิยมถึงขีดสุดในราวต้นปี พ.ศ. 2530 ขนาดที่สั่งเข้ามามีความยาวระหว่าง 4-6 นิ้ว แต่ถูกนำเข้ามาเผยแพร่ครั้งแรกในราวปี พ.ศ. 2524 ในประเทศไทยเคยมีผู้พยายามเพาะขยายพันธุ์ปลาชนิดนี้หลายครั้งหลายหน ทั้งใช้วิธีผสมพันธุ์แบบเลียนแบบธรรมชาติและวิธีผสมเทียม แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ

Tuesday, 28 September 2010

ปลาอะโรวาน่าดำ (Black arowana)

ปลาอะโรวาน่าดำ (Black Arowana)
ปลาอะโรวาน่าดำเป็นปลาที่เพิ่งสำรวจพบเมื่อประมาณปี คศ 1966 จัดว่าเป็นปลาในตระกูลอะโรวาน่าที่ได้รับความนิยมรองลงมาจากปลาอะโรวาน่าเงิน แหล่งที่สำรวจพบปลาอะโรวาน่าดำครั้งแรกอยู่ในประเทศบราซิลบริเวณแม่น้ำริโอนิโก บรานโก ปลาอะโรวาน่าชนิดนี้มีรูปร่างและสีสันคล้ายคลึงกับปลาอะโรวาน่าเงินมาก คือส่วนหัวมีขนาดใหญ่และส่วนท้ายเรียวเล็ก ลำตัวยาวลึกและแบนข้างมาก ขณะที่ปลามีความยาวต่ำกว่า 5 นิ้ว ลงมาปลาจะมีแถบลายสีดำสลับเหลืองคาดตามความยาวลำตัว และเมื่อปลาเริ่มโตขึ้นแถบสีดำและเหลืองจะค่อย ฯ จางหายไป โดยเกล็ดจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเงิน ครีบและหางจะออกสีน้ำเงินคล้ำจนเกือบดำ ขอบครีบหลัง ครีบทวารและหางจะมีสีชมพูนวล ฯ แลดูสดใสสวยงามมาก ซึ่งลักษณะการเปลี่ยนสีของปลาอะโรวาน่าจะคล้ายปลาชะโดของไทย ที่ตอนเล็ก ฯ จะเป็นสีหนึ่ง แต่พอเริ่มโตขึ้นก็จะกลายเป็นอีกสี และในช่วงที่ปลาอะโรวาน่าดำเริ่มเปลี่ยนสีใหม่ ฯ จะเป็นช่วงที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาอะโรวาน่าเงินมากที่สุด ดังนั้นในการสังเกตลักษณะความแตกต่างของปลาอะโรวาน่าทั้ง 2 ชนิดนจึงควรสังเกตที่สีของครีบเป็นหลัก

ปลาอะโรวาน่าดำ (Black arowana)
ปลาอะโรวาน่าดำครีบและหางจะมีสีน้ำเงินเข้ม แลดูคล้ำกว่าและที่ขอบครีบหลังครีบทวารจะมีสีเหลืองหรือสีส้มอมชมพูแซมอยู่เห็นได้ชัด ปลาอะโรวาน่าดำจัดว่าเป็นปลาที่มีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างช้ากว่าปลาอะโรวาน่าชนิดอื่น ฯ เนื่องจากปลาชนิดนี้เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดความยาวราว 70-75 เซ้นติเมตรเท่านั้น จึงจัดว่าเป็นปลาในตระกูลอะโรวาน่าที่มีขนาดเล็กที่สุด อย่างไรก็ตามปลาชนิดนี้ก็ได้รับความนิยมแพร่หลายไม่น้อยเช่นกัน ในประเทศบราซิลได้ออกกฎหมายให้การคุ้มครองปลาอะโรวาน่าชนิดนี้ เนื่องจากเกรงว่าหากไม่รีบทำการอนุรักษ์เสียแต่ตอนนี้ อีกไม่ช้าปลาอะโรวาน่าดำคงจะสูญพันธ์แน่นอน สำหรับขนาดของปลาที่นิยมซื้อขายกันมากที่สุดคือช่วงที่ปลามีขนาดระหว่าง 3-5 นิ้ว ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่ปลามีสีสันสวยสดงดงามมากจึงเป็นที่ต้องการของตลาดมากที่สุด แต่ปลาอะโรวาน่าชนิดนี้ค่อนข้างจะเปราะบางและเลี้ยงยากกว่าปลาอะโรวาน่าเงิน ดังนั้นจึงมักเกิดการตายในระหว่างที่มีการลำเลียงขนส่ง ยังผลให้ปลาอะโรวาน่าดำมีราคาต้นทุนต่อหน่วยสูงกว่าปลาอะโรวาน่าเงิน เป็นเหตุให้ปลาชนิดนี้ได้รับความนิยมรองลงมาจากปลาอะโรวาน่าเงิน แต่ที่น่าสังเกตุก็คือเมื่อปลาอะโรวาน่าโตขึ้น กลับปรากฎว่าไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร สาเหตุอาจเนื่องจากเมื่อปลาโตแล้วกลับมีรูปร่างและท่วงท่าในการว่ายน้ำไม่สง่างามเท่าปลาอะโรวาน่าเงินก็เป็นได้

Monday, 27 September 2010

ปลาอะโรวาน่าเงิน (Silver arowana)

ปลาอะโรวาน่าเงิน (Silver Arowana)
เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในลุ่มแม่น้ำอะเมซอนและในกิอานาประเทศบราซิลและเปรู

ลักษณะของปลาอะโรวาน่าเงิน
มีลำตัวยาวลึกและแบนข้างมาก ลำตัวส่วนท้ายจะเลียวเล็กกว่าส่วนหัวมากจนมองเห็นได้ชัดส่วนท้องมีลักษณะแบนจนใต้ท้องเป็นสันแหลม ขณะที่ปลายังเล็กจะมีจุดสีน้ำเงินและล้อมรอบด้วยวงแหวนสีชมพู ที่ลำตัวบริเวณหลังแผ่นเหงือก ลำตัวโดยทั่วไปจะมีสีเงินแวววาวและมีลายสuชมพูคาดอยู่ที่วงเกล็ดแต่ละเกล็ด แต่มีปลาในบางแหล่งน้ำที่เกล็ดบนลำตัวจะมีสีเหลือบกันหลายสี เช่น สีเหลือง สีเขียว สีฟ้า จนดูคล้ายกับสีรุ้งหรือสีของเปลือกหอยบริเวณครีบและหางโดยมากจะเป็นสีฟ้าหม่น บ้างก็ออกเหลืองหรือเขียวแต่สีไม่สดใสมากนัก ส่วนหัวมีขนาดใหญ่มาก จัดได้ว่าเป็นปลาอะโรวาน่าที่มีขนาดปากใหญ่และยาวที่สุดเมื่อเทียบตามสัดส่วนกับปลาอะโรวาน่าชนิดอื่น ฯ ที่มีขนาดความยาวเท่ากันบริเวณริมฝีปากล่างมีหนวดอยู่ 1 คู่ ซึ่งก็จัดว่าเป็นปลาในตระกูลอะโรวาน่าที่มีหนวดขนาดใหญ่และยาวที่สุดอีกเช่นกัน เกล็ดมีขนาดใหญ่และแข็ง เกล็ดตามเส้นข้างตัวมีจำนวนทั้งสิ้น 31-35 เกล็ด ริมฝีปากล่างโดยปกติจะยื่นล้ำออกไปมากกว่าริมฝีปากบนเล็กน้อย ครีบทวารมีลักษณะยาว เริ่มจากกึ่งกลางลำตัวยาวไปจรดโคนหาง มีก้านครีบทั้งหมด 50-55 ก้าน ส่วนครีบหลังอยู่ตรงข้ามกับครีบทวารแต่มีขนาดสั้นและเล็กกว่าเล็กน้อย ครีบหลังมีก้านรคีบทั้งหมด 42-46 ก้านครีบท้องมีขนาดเล็ก แต่ก้านครีบก้านแรก จะมีลักษณะยาวมาก เมื่อปลาโตเต็มที่จะมีความยาวเฉลี่ย 1-1.2 ม.

ปลาอะโรวาน่าเงิน (Silver Arowana)
ปลาอะโรวาน่าชนิดนี้จัดว่าเป็นปลาในตระกูลอะโรวาน่าที่ได้รับความนิยมแพร่หรายมากที่สุด เนื่องจากเป็นปลาที่มีความอดทนเลี้ยงง่ายและมีอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็วมาก แถมยังเป็นปลาในตระกูลอะโรวาน่าที่หาซื้อง่ายและมีราคาถูกที่สุด

Saturday, 25 September 2010

อาหารของปลามังกร

อาหารที่ใช้เลี้ยงปลามังกร
มีส่วนสำคัญ ซึ่งมีผลโดยตรงกับการเจริญเติบโตของปลา รวมถึงรูปทรงและสีสันของปลา อาหารที่ใช้เลี้ยงได้แก่ แมลงเกือบทุกชนิด ลูกปลา หนอน ไส้เดือน กบ กุ้งฝอย เนื้อกุ้ง รวมทั้ง อาหารเม็ด การให้อาหารปลามังกรนั้นไม่จำกัดตายตัว ว่าจะต้องกินอย่างไร ซึ่งจะขึ้นอยู่กับ ความสะดวกของผู้เลี้ยง และอุปนิสัยการกินของปลาประกอบเข้าด้วยกัน แต่ที่ผมจะแนะนำคือ ปริมาณอาหารที่ให้ในแต่ละวันนั้นจะต้องไม่มาก หรือน้อยเกินไป โดยส่วนมากแล้วเมื่อปลาอิ่มจะไม่สนใจอาหารแล้วเชิดหน้าใส่ ยกเว้นจะเป็นของที่โปรดปรานจริงๆจึงจะฝืนกินจนพุงกางบางท่านชอบทำแบบนี้แล้วชอบใจว่าปลาของเรากินเก่ง แต่ผลเสียก็คือ ปลาของท่านจะเป็นโรคอ้วน เสียทรง ตาตก เพราะอาหารที่พวกมัน โปรดปรานส่วนใหญ่หนีไม่พ้นอาหารที่มีไขมันสูง อันได้แก่ หนอนนก หนอนยักษ์ จิ้งหรีด กบ ตะพาบ ซึ่งอาหารจำพวกนี้ควรควบคุมปริมาณที่ให้ในแต่ละวัน แต่จะงดไปเลยก็ไม่ดี เพราะจะทำให้ปลาท่านไม่โต หรือโตช้า เนื่องจากอาหารจำพวกนี้จะอุดมไปด้วยโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ใช้ในการเจริญเติบโต การให้อาหารที่ดีนั้น ท่านควรสับเปลี่ยนหมุนเวียนไปเรื่อยๆเพื่อสุขภาพปลาของท่านจะแข็งแรงมีภูมิต้านทานสูง เหมือนกับคนเราที่ได้รับประทานอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ยกตัวอย่างให้เข้าใจได้ง่ายดังนี้

กุ้งฝอย (อาหารปลามังกร)
เดือนมกราคม หนอนนก กุ้งฝอย ลูกปลา

เดือนกุมภาพันธ์ หนอนยักษ์ กุ้งฝอย ลูกกบ

เดือนมีนาคม จิ้งหรีด กุ้งฝอย เนื้อกุ้ง

เดือนเมษายน ตะขาบ กุ้งฝอย ลูกตะพาบ

เดือนพฤษภาคม แมลงป่อง กุ้งฝอย จิ้งจก

เดือนมิถุนายน ก็กลับหมุนเวียนเอาของเดือนมกราคมขึ้นมาใหม่ เป็นต้น

หรือ จะเอาทุกอย่างมาสับเปลี่ยนหมุนเวียนในแต่ละวันก็ได้ แต่อาหารที่มีทั่วไปหาซื้อง่าย ได้แก่ หนอนนก กุ้งฝอย เนื้อกุ้งสด ลูกปลา จิ้งหรีด ลูกกบ อาหารที่ไม่แนะนำให้ใช้กับปลามังกรได้แก่ แมลงสาบ ถ้าท่านไม่ได้เพาะพันธ์เองไม่ควรใช้ เนื้อหมู หรือ เนื้อวัว จะทำให้ย่อยยาก อาจทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับลำไส้ หรือเมื่อใช้เลี้ยงไปนานๆปลาของท่านอาจจะตายโดยไม่รู้สาเหตุ เพราะในเนื้อหมูหรือเนื้อวัวนั้นจะมีพยาธิบางชนิดค่อยๆกัดกินอวัยวะภายในจนตาย เนื่องจากมันไม่ใช่อาหารของมันตามธรรมชาติ จึงไม่มีกลไกภายในร่างกายสามารถป้องกันได้

Friday, 24 September 2010

การเตรียมตู้เลี้ยงปลามังกร

การเตรียมตู้เลี้ยงปลามังกร
การเลี้ยงปลามังกรนั้นผู้เลี้ยงต้องคำนึงถึงเรื่องตู้เป็นอันดับแรก มาตรฐานขั้นต่ำที่ใช้เลี้ยงนั้นคือ 60 x 24 x 24 นิ้ว หรือ ประมาณ 150 x 60 x 60 ซม. จะสามารถเลี้ยงจากขนาดเล็กที่มีขายตามร้านค้าทั่วไปจนถึง ขนาด 24 นิ้ว จะสามารถทำให้ท่านเลี้ยงได้ประมาณ 4-5 ปี แล้วจึงค่อยขยับขยาย” แต่หากท่านที่มีเนื้อทีค่อนข้างจำกัดจริงๆก็สามารถเลี้ยงได้ตลอดไป แต่กระจกที่ใช้ควรจะหนาประมาณ 3 หุน ขึ้นไป และ ในกรณีที่พอมีเนื้อที่ในด้านกว้างที่พอจะเพิ่มได้ควรจะกว้างอย่างน้อย 30 นิ้ว หรือ 75 ซม. สูง 36 นิ้ว แต่จะให้ดีก็ กว้าง 36 นิ้ว หรือ 90 ซม. สูง 36 นิ้ว ไปเลยก็จะดี ปลาขนาดใหญ่จะได้ไม่เครียด”( ที่สำคัญอย่าลืมเผื่อกันกระโดดด้วย ประมาณ 4-6 นิ้ว แล้วแต่ขนาดของปลา ) ที่ผมแนะนำอย่างนี้ก็เพื่อผู้เลี้ยงจะไม่ต้องเปลืองสตางค์ซื้อตู้บ่อยๆ แล้วตู้ที่ไม่ได้ใช้เกะกะเต็มบ้านจนต้องยอมขายถูกๆหรือไม่ก็ยกให้ใครไปฟรีๆ

ปลามังกร
ปัญหาที่พบบ่อยปลาเล็กในตู้ขนาดใหญ่
ทำให้ปลาตื่นกลัว ทำให้การว่ายไม่สง่า ครีบลู่ วิธีแก้คือ หาแท้งค์เมท มาเพิ่มสัก 2-5 ตัว แล้วแต่ขนาดของตู้ ปลาที่ผมอยากจะแนะนำได้แก่ ปลานกแก้ว เป็นตัวหลัก เพราะ เป็นปลาที่ไม่มีข้อเสีย เลย แถมยังข้อดีเพียบ แต่ ไม่ควรใส่จนเยอะเกินไป หรือ นำนกแก้วที่มีขนาดใหญ่กว่าปลามังกรใส่ลงไป ก็จะสามารถแก้อาการตื่นกลัวได้ หากไม่มีปัจจัยอื่นที่ทำให้ปลาตื่นกลัว เช่น เด็กชอบมาทุบกระจก หรือ ตู้ปลาอยู่ตรงทางเดินที่มีคนพลุกพล่าน เป็นต้น

ในกรณีท่านที่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องเนื้อที่ เมื่อปลาได้ขนาด 16 –18 นิ้วแล้วจึงย้ายปลาไปอยู่ในตู้ที่ใหญ่ขึ้น จะทำให้ปลาที่ท่านเลี้ยงโตขึ้นโดยไม่สะดุด และการว่ายจะไม่มีปัญหา และปลาจะไม่เกิดความเครียด เมื่อท่านเลือกขนาดตู้ที่เหมาะสมแล้วนั้นการเลือกระบบการกรองชีวภาพ และรายละเอียดปลีกย่อยทุกอย่างล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้น

Thursday, 23 September 2010

ปลามังกร

ลักษณะธรรมชาติของ "ปลามังกร"
เป็นปลาน้ำจืด ตระกูลปลากินเนื้อชอบกินสัตว์ที่มีชีวิตอยู่ เช่น แมลงสาบ ตะขาบ จิ้งจก ปลาเล็ก มีนิสัยดุร้าย ในบางแห่งเรียกปลาชนิดนี้ว่าปลาตะพัด แต่ในเขต 3 จังหวัดภาคใต้ ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่าปลากรือซอ ปลาชนิดนี้มีมากในแถบอินโดนีเซีย มาเลเซียและประเทศไทยตอนล่าง ซึ่งพบในลำน้ำสายบุรี โดยเฉพาะที่บึงน้ำใสตำบลตะโละหะลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดปลามังกร แหล่งใหญ่แหล่งหนึ่งปลามังกรมี รูปร่างยาวเรียว ตัวแบน ๆ คล้ายปลากระบอก มีผู้พบขนาดโตเต็มที่ ความยาวประมาณ 2 ฟุต กว่า ๆ ลำตัวกว้างประมาณ 10 นิ้ว เป็นปลาที่มีอายุยืน การขยายพันธุ์โดยการวางไข่ปีละ 1 ครั้ง ในช่วงประมาณเดือนมิถุนายน และจะฟักเป็นตัวอ่อนขนาด 1 นิ้ว ประมาณเดือนตุลาคม เป็นปลา ที่ชอบเล่นแสงไฟ ดังนั้นในการจับปลามังกร จึงมีการใช้แสงไฟล่อให้ปลามาเล่นแสงไฟ และใช้สวิง ดักจับ ปลามังกรมีสีสรรแตกต่างกันแล้วแต่ชนิดของมัน

ปลามังกร
ถิ่นกำเนิดปลามังกร
ปลาอะโรวาน่าหรือปลาตะพัดเป็นปลาที่จัดอยู่ในครอบครัว Osteoglossidae (ออสทีโอกลอสซิดี้) ปลาในตระกูลนี้หากจัดแบ่งตามแหล่งที่อยู่อาศัยหรือเขตุภูมิภาคที่พบซึ่งเป็นที่ยอมรับของสากลจะแบ่งออกเป็น 4 สกุล (Genus) และมี 7 ชนิด (Species) คือ

-ทวีปอเมริกาใต้ 3 ชนิด
-ทวีปออสเตรเลีย 2 ชนิด
-ทวีปอัฟริกา 1 ชนิด
-ทวีปเอเซีย 1 ชนิด (4 สายพันธุ์)


Wednesday, 22 September 2010

การเลือกซื้อปลาเบื้องต้น

การดูว่าปลาป่วยหรือไม่ก่อนที่จะเลือกซื้อ
1. ร้านไหนมีตู้ปลาป่วยและตายคาตู้ ควรเลี่ยงเลยนะครับ ไม่ควรซื้อ เพราะ ถ้าปลาเป็นโรคป่วยหรือตายคาตู้ ปลาในตู้ก็น่าจะติดเชื้อหรือเป็นโรคกันทั้งหมดตู้ ถ้า เราซื้อมา ขึ้นอยู่ว่าปลาจะมีอาการป่วยหรือตาย ช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับเวลาออกอาการของโรคที่มากับปลาครับ

2. หาร้านที่ปลามีการแยกที่อยู่เป็น สัดส่วนนะครับ เพราะว่าเราไม่รู้ได้ว่า ร้านขายไปเอาปลามาจากไหนกันบ้าง ถ้าแยกเป็นสัดส่วน เราจะได้หาสาเหตุถูก ว่าปลาป่วยเป็นอะไรหรือป่าว เราจะได้ไม่ต้องไปพลิกตำรา เสียเวลามารักษาปลา และจะได้ไม่ต้องมาเสี่ยงเรื่องปลาตายและเสียดายเงินด้วยครับ

การเลือกซื้อปลาเลี้ยง
ข้อสำคัญสำหรับการไปเลือกปลาที่ร้านหรือที่ฟาร์ม
อย่าเอามือของเพื่อนๆไปจับปลาในร้านหรือฟาร์มนะครับควรบอกเจ้าของร้านหรือคนขายมาตักให้ดู เพราะมือของท่านอาจจะมีเชื้อโรค อาจทำให้ปลาที่ร้านหรือที่ฟาร์มป่วยได้ นอกจากท่านได้ล้างมือและคนขายต้องอนุญาตให้ตักหรือจับได้ครับ

Tuesday, 21 September 2010

ปัญหาการเลี้ยงปลาทอง

ปัญหาเบื้องต้นในการเลี้ยงปลาทอง
ปลาทอง ดูเหมือนเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย และนิยมเลี้ยงกันเป็นวงกว้าง แต่การเลี้ยงปลาทองก็ไม่ใช่เรื่องกล้วย ๆ เสียทีเดียว เพราะมันขึ้นชื่อว่าสามารถตายได้ง่าย ๆ หากไม่ใส่ใจดูแลอย่างถูกวิธี ดังนั้น ลองมาดูกันว่า ปัญหาอะไรบ้างที่ส่งผลกระทบต่อเจ้าปลาทองบ้าง

อุณหภูมิน้ำ
อุณหภูมิของน้ำ ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้เลี้ยงจะละเลยไม่ได้ โดยเฉพาะการเปลี่ยนน้ำใหม่ทุกครั้ง เนื่องจากปลาทองส่วนใหญ่สามารถปรับตัวเข้ากับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงได้ไม่เกิน 5 องศาเซลเซียส ไม่เช่นนั้น ปลาอาจเกิดอาการช็อกน้ำได้ จึงต้องมีการปรับสมดุลของน้ำ

ปลาทอง
อาหาร
ปลาไม่ค่อยกินอาหาร มักเกิดกับปลาที่นำมาเลี้ยงใหม่ หรือการเปลี่ยนสถานที่ และสภาพแวดล้อม ปลาทองจึงต้องการการปรับตัวและจะต้องใช้ระยะเวลาในการปรับตัวอย่างน้อย 1-2 วัน ปลาถึงจะยอมกินอาหาร

อาหารสดทำน้ำเน่า การให้อาหารสดยอดนิยมอย่าง หนอนแดงแช่แข็ง ไรทะเลหรือ อาร์ทีเมีย จะต้องสะอาดและดูแลเรื่องน้ำเป็นพิเศษหากให้อาหารสด เนื่องจากมีโอกาสทำให้น้ำเสียได้เร็วกว่าอาหารสำเร็จรูป ซึ่งนั่นอาจเป็นสาเหตุทำให้ปลาป่วยได้

ปลาโตช้า และสีสันจืดลง เป็นธรรมดาของปลาทองที่เลี้ยงในตู้ที่มีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด ดังนั้น การเจริญเติบโตอาจช้ากว่าปลาที่เลี้ยงในพื้นที่ที่กว้างกว่า นอกจากนี้ จำนวนของปลาก็เป็นอีกปัจจัยที่จะทำให้ปลาโตเร็วหรือช้าด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เรื่องการเจริญเติบโตของปลาขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างทั้งเรื่องของอาหารและสภาพแวดล้อมภายในตู้ด้วย

ของเสียในตู้ นำมาซึ่งโรค ปลาทองเป็นปลาที่กินอาหารเก่งและขับถ่ายของเสียออกมาเร็วมาก ดังนั้น หากมีจำนวนปลามากปริมาณของเสียก็จะมากตามไปด้วย โอกาสที่น้ำจะเป็นแหล่งสะสมสารพิษในรูปของแอมโมเนีย และไนไตรท์ ก็ยิ่งมีมากขึ้นไปด้วย และแน่นอนมันส่งผลต่อสุขภาพของเจ้าปลาทองโดยตรง

Monday, 20 September 2010

ปัญหาที่พบในการเลี้ยงปลาทอง

ปัญหาในการเลี้ยงปลาทอง
ในช่วงฤดูฝนผู้ที่เลี้ยงปลาทองโดยส่วนใหญ่มักจะเจอปัญหาในเรื่องของสภาพอากาศและสภาพอากาศและสภาพน้ำที่แตกต่างไปจากเดิม เนื่องจากปริมาณน้ำฝนจะมีค่าเปลี่ยนแปลงในเรื่อง ของค่า pH ในกรณีที่เลี้ยงกลางแจ้งจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในเรื่องของน้ำและ อุณหภูมิของน้ำ แต่สำหรับผู้ที่เลี้ยงปลาในร่ม หรือ บริเวณที่มีหลังคา ก็จะเจอปัญหาในเรื่องของอุณหภูมิที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย น้ำบาดาลซึ่งถือว่าเป็นแหล่งน้ำที่ความกระด้างค่อนข้างสูงปลาทองที่เพาะพันธุ์มาจากแหล่งน้ำนี้จะมีสีสันที่เข้มสวย เกล็ดค่อนข้างหนากว่าปลาที่เพาะพันธุ์มาจากแหล่งน้ำประปา ค่า pH ของน้ำที่มาจากทั้งสองแหล่งจะมีความแตกต่างกันถ้าไม่มีการปรับสภาพในเรื่องของภูมิต้านทานโรคปลา เชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในน้ำต่างกันย่อมมีองค์ประกอบแตกต่างกันอย่างแน่นอน การปล่อยปลาทองลงตู้ หรือ อ่างเลี้ยงต้องให้ความสำคัญในเรื่องของอุณหภูมิ ปลาทองส่วนใหญ่สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงเกิน 5 องศาเซลเซียส ปลาอาจเกิดอาการช็อกน้ำได้ อุณหภูมิของน้ำจึงถือเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้เลี้ยงจะละเลยไม่ได้

ปลาทอง
ปัญหาอีกประการที่มักเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ ก็คือเมื่อนำปลาตัวใหม่เข้ามาแล้วปลามักจะไม่ค่อยกินอาหาร ซึ่งเป็นธรรมดาเพราะเมื่อปลาเกิดเปลี่ยนสถานที่หรือสภาพแวดล้อมย่อมทำให้ปลามีการปรับตัวและจะต้องใช้ระยะเวลาในการปรับตัวอย่างน้อย 1-2 วันปลาถึงจะยอมกินอาหาร อาหารปลาทองที่ดีควรมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบไม่ต่ำ 38 เปอร์เซ็นต์ และควรมีส่วนผสมของวิตามิน หรือ สาหร่ายสไปรูริน่าเพื่อช่วยในเรื่องของการคงสภาพสีที่ดี หนอนแดงแช่แข็งอาหารยอดนิยมสำหรับปลาทอง ไรทะเลหรือ อาร์ทีเมีย อาหารสดที่ยกตัวอย่างขึ้นมานี้ถือเป็นอาหารที่มีความปลอดภัยในเรื่องของความสะอาดและความสะดวกในการใช้ แต่ต้องดูในเรื่องของน้ำเนื่องจาก อาหารสดมีโอกาสทำให้น้ำเสียได้เร็วกว่าอาหารสำเร็จรูป การเลี้ยงด้วยอาหารสดต้องคำนึงเรื่องระบบกรองที่ใช้ การให้อาหารสดก็มีปัญหาเช่นกันทั้งอาร์ทีเมีย และหนอนแดง มีโอกาสไหลเข้าช่องกรองหรือระบบกรองเร็วกว่าอาหารสำเร็จรูป

ปัญหาต่อมาที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ สำหรับผู้เลี้ยงปลาทองก็คือ
ปลาโตช้า และสีสันที่จืดลง เป็นธรรมดาของปลาทองที่เลี้ยงในตู้ที่มีพื้นที่ค่อนข้างจำกัดจะมีการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าปลาที่เลี้ยงในพื้นที่ที่มากกว่า จำนวนของปลาเป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้ปลาโตเร็วหรือช้าเนื่องจากปลาถ้ามีจำนวนปลาที่มากเกินไปพื้นที่จำกัด ถ้ามีพื้นที่มากปลาก็จะเจริญเติบโตได้ดีทั้งนี้เรื่องการเจริญเติบโตของปลาขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างทั้งใน

เรื่องของอาหารและสภาพแวดล้อมภายในตู้ด้วย
ปลาทองเป็นปลาที่กินอาหารเก่งและขับถ่ายของเสียออกมาเร็วมากดังนั้นเมื่อมีจำนวนปลามากปริมาณของเสียก็จะมากตามไปด้วยทำให้โอกาสที่น้ำจะเป็นแหล่งสะสมสารพิษใรรูปของ แอมโมเนีย และไนไตรท์ ก็ยิ่งมีมากขึ้นไปด้วย

Sunday, 19 September 2010

การซื้อปลาใหม่มาเลี้ยงรวมกับปลาเก่า

การเตรียมตัวในการเลี้ยงปลาครั้งแรก
1.การเตรียมน้ำในภาชนะ(อ่าง,ตู้)ก่อนที่จะเลี้ยงปลา น้ำประปาที่เพื่อนๆจะเอามาใช้ ต้องเป็นน้ำที่ผ่านการพักน้ำประมาณ 2-3 วัน เพื่อให้คลอรีนสลายก่อน หรือผ่านการกรองคลอรีนเพื่อสลายคลอรีนมาแล้ว ทำไมต้องน้ำประปา (น้ำประปาดีที่สุดเพราะผ่านการฆ่าเชื้อจากคลอรีนมาแล้ว)

2.การปรับอุณหภูมิน้ำและค่าPHของน้ำในถุงปลาที่ซื้อมาจากร้าน กับน้ำที่เตรียมไว้ในภาชนะ(อ่าง,ตู้)ที่บ้านเอาถุงปลาที่ซื้อมา มาล้างถุงและก้นถุงให้สะอาดด้วยน้ำเปล่าก่อน จากนั้นให้แช่ถุงปลา ลงไปในอ่างหรือตู้ที่เตรียมไว้เลี้ยงปลาทั้งถุง ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที(ถ้าเป็นหน้าหนาว ให้นานกว่านี้หน่อยเพื่อให้อุณหภูมิของน้ำในถุงปลากับอุณหภูมิของน้ำในอ่างหรือตู้เท่ากัน) เมื่อปลาปรับสภาพได้ แล้วก็ให้เปิดปากถุง และลอยถุงปลาต่อไปอีกประมาณ 20 นาที และให้ใส่อ๊อกฯในถุงปลาที่ลอยด้วย หลังจากนั้นตักน้ำในอ่างหรือตู้ ที่ลอยถุงปลาอยู่ใส่ลงไปในถุงปลาทีละน้อย ให้ปลาปรับสภาพกับน้ำใหม่ที่เตรียมไว้ แล้วก็ จากนั้นค่อยๆเอียงถุงปลา ปล่อยปลาลงน้ำ ที่เตรียมไว้ หรือให้ใช้มือจับเฉพาะตัวปลาลงไปในอ่าง(ในกรณีที่ซื้อปลามาจากที่ไกลๆเหตุที่ไม่เทน้ำในถุงลงไปในอ่างด้วยเพราะน้ำในถุงมีเมือกปลาที่ขับเมือกในขณะเดินทาง การจับปลาในถุงลงในอ่างปลาควรล้างมือให้สะอาดก่อน และแช่มือลงในอ่างซักครู่พอให้มือมีอุณหภูมิใกล้เคียงกัน ก่อนจะจับปลาในถุงลงมาในอ่างนะครับ) จากนั้นแล้ว ก็ใส่เกลือลงไปสักหน่อย ให้ปลาสดชื่น และช่วยลดความเครียดให้ปลา โดยใส่เกลือ 0.3 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร (ถ้าหน้าหนาวอาจจะปรับเปลี่ยนวิธีได้นะครับ)

การเตรียมตัวเลี้ยงปลา
ที่สำคัญควรอดอาหารปลาประมาณ 3 วัน ห้ามให้อาหารเด็ดขาด (การอดอาหารเพื่อให้ปลาได้พักผ่อนจากการเดินทางไกล จากการปรับสภาพกับน้ำ, สถานที่ใหม่ ให้ปลาแข็งแรง แล้วค่อยให้อาหาร) และ การซื้อปลามาใหม่ไม่ควรนำปลาที่ซื้อมาใหม่ไปเลี้ยงรวมกับปลาเก่าทันที.......ห้ามโดยเด็ดขาด ควรเลี้ยงกักไว้ในอ่างใหม่เพื่อป้องกันการตาย(ป้องกันการติดเชื้อโรคจากปลาใหม่ด้วย) ให้สังเกตดูปลาที่ซื้อมาใหม่ที่กักไว้ด้วยว่า มีอาการผิดปกติ มีอาการปลาซึมๆ มีรอยแดง มีสิ่งแปลกปลอมเกาะติดมากับปลาด้วยหรือป่าว หรือเป็นโรคอะไรหรือป่าว ถ้ามีให้รักษาตามอาการให้หาย และให้ปลาแข็งแรงก่อน ถึงควรจะให้อาหารและนำปลาใหม่ไปรวมกับปลาเก่าได้

Saturday, 18 September 2010

การเคลื่อนย้ายปลา

การจับปลาหรือการเคลื่อนย้ายปลา
หากไม่มีความจำเป็นไม่ควรมีการจับปลาหรือเคลื่อนย้ายปลาออกจากตู้ปลาอย่างเด็ดขาด เพราะการจับหรือการเคลื่อนย้ายปลาไม่ถูกวิธีหรือไม่ชำนาญ มักทำให้ปลาบอบช้ำ เกล็ดหลุด เกิดบาดแผล พิการ หรือตายได้ หากจำเป็นต้องจับปลาหรือเคลื่อนย้ายปลา เช่น ในกรณีล้างตู้ปลาหรือเปลี่ยนตู้ปลา ก็ต้องทำอย่างระมัดระวัง โดยไม่ควรช้อนปลาพ้นจากน้ำ โดยเฉพาะการใช้กระชอนช้อนปลาพ้นน้ำขึ้นมา เพราะเมื่อปลาพ้นน้ำขึ้นมาปลาจะกระโดดพลิกไปมาในกระชอน อาจเกิดการทับครีบของตัวปลาเอง หรือหากช้อนปลาหลายตัวพร้อมกัน ปลาจะกระโดดทับกระแทกกันไปมา ผลก็คือการจับปลามักทำให้ปลาเกล็ดหลุด เกิดบาดแผล หรือครีบหักพับกลายเป็นปลาพิการไปได้

การเคลื่อนย้ายปลา

วิธีการที่เหมาะสมในการจับปลาหรือเคลื่อนย้ายปลา
คือควรใช้ภาชนะที่ใหญ่กว่าตัวปลา เช่น ขัน หรือถังพลาสติก ใส่ลงในตู้ปลาแล้วค่อยๆไล่ปลาโดยอาจใช้กระชอนช่วย ค่อยๆไล่ปลาเข้าภาชนะ แล้วยกขึ้นทั้งปลาและน้ำ อาจใช้กระชอนช่วยปิดปากภาชนะกันปลากระโดดสำหรับปลาบางชนิดด้วย แล้วย้ายปลาไปลงในภาชนะที่เตรียมไว้ จะลดความบอบช้ำของปลาได้ นอกจากนั้นหากภายในตู้ปลามีหินประดับหรือเครื่องประดับต่างๆ ก็ควรนำออกจากตู้ปลาก่อน และไล่ปลาช้าๆอย่าให้ปลาตื่นตกใจมากนัก เพราะปลาอาจวิ่งชนขอบตู้หรือซุกไปตามปะการัง ทำให้เกิดบาดแผลได้

Wednesday, 15 September 2010

อุณหภูมิและแสงสว่างในการเลี้ยงปลา

อุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมจะใช้เลี้ยงปลาในตู้ปลา
ปลาสวยงามของไทยชอบอาศัยอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิระหว่าง 25-32 องศาเซลเซียส ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับแต่ละชนิดของปลา ผู้เลี้ยงปลาสวยงามจะต้องรำลึกอยู่เสมอว่าปลาเป็นสัตว์เลือดเย็น กิจกรรมต่างๆของร่างกายจะปรับไปตามอุณหภูมิน้ำ ดังนั้นในฤดูหนาวการเผาผลาญอาหารภายในร่างกายก็จะลดลงตามอุณหภูมิน้ำ นั่นหมายถึงปลามีความต้องการอาหารลดลง ดังนั้นผู้เลี้ยงจะต้องลดปริมาณอาหารที่ให้ลง และควรให้อาหารเพียงวันละครั้งในตอนบ่ายหรือเย็น แต่ถ้าหากต้องการให้ปลากินอาหารตามปกติ ก็อาจกระทำโดยใช้เครื่องให้ความร้อนที่ควบคุมอุณหภูมิได้ ก็จะทำให้ปลาที่เลี้ยงมีความสดชื่น แข็งแรง และกินอาหารได้ตามปกติ

ดังนั้นการปรับเปลี่ยนอุณหภูมิของน้ำโดยฉับพลันเกินกว่า 5 องศาเซลเซียส จะสามารถทำให้ปลาที่เลี้ยงสวยงามของเรานั้นอาจตายได้

การเลี้ยงปลา
แสงสว่างที่เหมาะสมจะใช้เลี้ยงปลาในตู้ปลา
การเลี้ยงปลาสวยงามในตู้กระจกมักตั้งตู้ปลาอยู่ภายในห้องหรือในอาคาร และมักตั้งในบริเวณที่ไม่ได้รับแสงแดด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดตะไคร่น้ำหรือเกิดน้ำเขียวในตู้เลี้ยงปลา ดังนั้นการเพิ่มแสงสว่างในตู้เลี้ยงปลาจึงมีความจำเป็น เพื่อเพิ่มความสวยงามและเป็นการช่วยให้ปลาแข็งแรง อีกทั้งยังช่วยให้พรรณไม้น้ำมีการสังเคราะห์แสงเจริญเติบโตได้ ซึ่งปัจจุบันมีการผลิตหลอดนีออนที่เป็นแสงแดดเทียม สำหรับใช้กับการเลี้ยงปลาสวยงามติดที่ฝาตู้ ผู้เลี้ยงควรเลือกใช้หลอดชนิดดังกล่าว โดยเปิดให้ปลาในเวลากลางวันและตอนหัวค่ำ เมื่อเลิกใช้ห้องหรือก่อนเข้านอนก็ควรจะปิดไฟ เพื่อให้ปลาได้มีการพักผ่อน เพราะเมื่อไม่มีแสงสว่างปลาส่วนใหญ่จะลดกิจกรรมลง เช่น ว่ายน้ำช้าลง

โดยทั่วไปการให้แสงสว่างกับตู้ปลามักจะใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์เป็นส่วนใหญ่ เพราะหาซื้อง่ายราคาถูก โดยที่จริงแล้วแสงจากหลอดไฟไม่มีผลโดยตรงต่อการอยู่รอดของปลา แต่เป็นเพียงเพิ่มความสว่างให้ตู้ปลา หลอดบางชนิดทำให้เห็นสีของปลาสวยกว่าสีจริงด้วย และยังทำให้ปลาไม่ตื่นตกใจง่ายถ้าเราให้แสงสว่างเป็นประจำ

Monday, 13 September 2010

การเปลี่ยนน้ำตู้ปลาและการให้อาหาร

การถ่ายน้ำในภาชนะเลี้ยงปลาหรือตู้ปลา
หากต้องการให้ปลามีสุขภาพดี แข็งแรง สีสดใส และมีการเจริญเติบโตสม่ำเสมอ ก็ควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นประจำ โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนหมดทั้งตู้ แต่ถ่ายออกเพียง 1 ใน 4 ของน้ำที่มีอยู่ด้วยวิธีกาลักน้ำ โดยคะเนจากระดับความลึกของน้ำเป็นหลัก เช่น ตู้เลี้ยงปลาที่ใส่น้ำสูงประมาณ 40 เซ็นติเมตร จะถ่ายน้ำออกให้ระดับน้ำลดลง 10 เซ็นติเมตรก็พอ แล้วเติมน้ำใหม่ให้ได้ระดับเดิม กระทำเช่นนี้สัปดาห์ละ 2 - 3 ครั้ง จะทำให้น้ำมีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการดำรงชีพของปลาอยู่เสมอ นอกจากนั้นหากต้องการเร่งให้ปลามีการเจริญเติบโตเร็วขึ้นเป็นพิเศษ อาจทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวัน เช่นการเลี้ยงปลาทอง หากปล่อยปลาค่อนข้างน้อยแล้วเปลี่ยนถ่ายน้ำและทำความสะอาดทุกวัน จะทำให้ปลาทองเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีขนาดตัวโตอย่างเด่นชัด

อาหารปลาสวยงาม
การให้อาหารปลาสวยงาม
การเลี้ยงปลาสวยงามก็เหมือนกับการเลี้ยงสัตว์บกโดยทั่วไป คือต้องให้อาหารทุกวัน เพราะปลาสวยงามที่เลี้ยงในตู้ไม่สามารถหาอาหารธรรมชาติกินได้ และยังมีความเคยชินกับการได้รับอาหารทุกวัน ดังนั้นหากปลาถูกปล่อยให้อดอาหารเป็นเวลา 2 - 3 วัน ก็จะทำให้ปลามีสุขภาพเสื่อมโทรมและมักทำอันตรายกันเอง นอกจากนั้นการให้อาหารปลาสวยงามยังมีข้อปลีกย่อยที่ควรพิจารณาดังนี้

1. การให้อาหารเป็นเวลา เพื่อให้ปลาเกิดความเคยชิน อย่าให้แบบพร่ำเพรื่อ คือ อยากให้เมื่อไหร่ก็ให้ หรือเข้าไปดูปลาครั้งใดเห็นปลาว่ายเข้ามาเหมือนต้องการอาหาร ก็ให้อาหารปลาทุกครั้ง การให้อาหารปลาแบบพร่ำเพรื่อจะทำให้มีเศษอาหารเหลือตกค้างในระบบกรองน้ำค่อนข้างมาก แล้วเกิดการบูดเน่าเป็นตัวการทำให้ปลาเกิดโรคระบาดได้ง่าย การให้อาหารปลาสวยงามในแต่ละวันควรให้เพียง 2 ครั้ง ในตอนเช้าและเย็นก็เป็นการเพียงพอสำหรับปลา

2. พิจารณาถึงชนิดของปลา แล้วเลือกชนิดของอาหารให้เหมาะสม โดยเฉพาะขนาดของเม็ดอาหารควรให้เหมาะสมที่ปลาจะฮุบกินได้ง่าย

3. พิจารณาถึงวัยของปลา ถ้าเป็นปลาวัยอ่อนก็จะต้องให้บ่อยครั้งมากขึ้น อาจเป็นวันละ 3 - 4 ครั้ง

Sunday, 12 September 2010

วิธีการเลี้ยงปลาสวยงาม

วิธีการเลี้ยงปลาสวยงาม
ปลาสวยงามแต่ละชนิดมีความต้องการปัจจัยในการเลี้ยงต่างกัน ดังนั้นหากต้องการให้ปลาที่เลี้ยงมีความสวยงาม แข็งแรง และเจริญเติบโตดีตามต้องการ ควรพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้

1. ภาชนะสำหรับเลี้ยงปลา
ปลาสวยงามแต่ละชนิดจะมีความสวยงามมากขึ้น หากเลือกภาชนะในการเลี้ยงได้ถูกต้องเหมาะสม เช่น ปลาคาร์พ และปลาอะราไพม่า เหมาะที่จะเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ภายนอกอาคาร ปลาแรด และปลามังกรเหมาะที่จะเลี้ยงในตู้กระจกขนาดใหญ่และเลี้ยงเพียงตัวเดียวโดดๆ ปลานีออน ปลาก้างพระร่วง ปลาตะเพียนทอง ปลาเสือสุมาตรา ปลาม้าลาย ปลาซิวข้างขวาน ปลาหางนกยูง และปลาสอด เหมาะที่จะเลี้ยงในตู้กระจกขนาดเล็กถึงขนาดกลาง โดยเลี้ยงเป็นฝูงจะยิ่งทำให้ดูสวยงามยิ่งขึ้น ส่วนปลากัด เหมาะสำหรับเลี้ยงในภาชนะขนาดเล็กเช่นขวดเหลี่ยม หรือขวดโหลรูปทรงต่างๆ

การเลี้ยงปลาสวยงาม
2. สถานที่
คือการเลือกที่สร้างบ่อหรือที่จัดวางตู้ปลา พร้อมอุปกรณ์ประกอบอื่นๆให้เหมาะสมสอดคล้องกับอาคาร หรือลักษณะของห้อง ไม่ว่าจะเป็นบริเวณใด มุมใด หรือห้องใด เพราะเมื่อสร้างบ่อหรือจัดวางตู้เรียบร้อยแล้ว หากเกิดเปลี่ยนใจอยากเปลี่ยนสถานที่ใหม่ จะมีความยุ่งยากในการเคลื่อนย้าย เพราะต้องมีการถ่ายน้ำออกและเคลื่อนย้ายปลา มักมีผลทำให้ปลาบอบช้ำหรือตู้เลี้ยงปลาชำรุดแตกร้าวได้ง่าย โดยเฉพาะหากทำให้ตู้ปลาเกิดการรั่วซึม ก็จะทำให้เกิดปัญหากับบริเวณข้างเคียง หรือการซ่อมแซมตู้อาจทำให้ความสวยงามลดลงได้

3. ความหนาแน่นของปลา
คือจำนวนปลาที่จะเลี้ยงในแต่ละตู้ไม่ควรให้มีจำนวนมากเกินไป สำหรับปลาบางชนิดอาจต้องเลี้ยงเพียงตัวเดียว เช่นปลามังกร ปลาแรด ปลาเค้า ปลากราย ปลาตองลาย ปลาบู่ ปลาชะโด และปลากัด ไม่เช่นนั้นปลาจะไล่กัดทำอันตรายกันเอง ปลาบางชนิดอาจเลี้ยงเป็นคู่หรือจำนวนไม่มากมายนัก เช่น ปลาออสการ์ ปลาปอมปาดัวร์ ปลาเทวดา และปลาหมอชนิดต่างๆ หรือปลาบางชนิดควรเลี้ยงหลายตัวให้เป็นฝูงหรือเลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่นๆ แต่ก็ไม่ควรให้มีจำนวนมากมายจนเกินไป เพราะหากมีจำนวนมากเกินไป ปลาจะไม่ค่อยเจริญเติบโต แต่กลับอ่อนแอป่วยเป็นโรคได้ง่าย สำหรับจำนวนปลาที่เหมาะสมนั้นจะขึ้นกับชนิดและขนาดของปลาด้วย ซึ่งผู้เลี้ยงควรจะได้ศึกษาให้ละเอียดรอบคอบ

4. การรักษาความสะอาดในภาชนะเลี้ยงปลาหรือตู้ปลา
ผู้เลี้ยงควรจะทำความเข้าใจวิธีการทำความสะอาดเพื่อกำจัดสิ่งหมักหมม และตะกอนที่ตกค้างอยู่ในระบบกรองน้ำอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเท่ากับเป็นการกำจัดเศษอาหารและมูลที่ปลาขับถ่ายออกมาออกจากตู้ปลา โดยทำความสะอาดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง จะทำให้ปลาที่เลี้ยงมีการเจริญเติบโตรวดเร็ว และยังเป็นการช่วยป้องกันการเกิดโรคระบาดปลา ที่อาจเกิดจากเศษอาหารที่บูดเน่าได้

Thursday, 9 September 2010

วิธีการเลือกซื้อปลาเลี้ยง

วิธีการเลือกซื้อปลาสวยงาม
เมื่อตัดสินใจว่าจะเลี้ยงปลาสวยงามและได้ตัดสินใจเลือกชนิดปลาที่จะเลี้ยงแล้ว ขั้นตอนสำคัญอันดับต่อไปคือการไปร้านขายปลาสวยงาม เพื่อเลือกซื้อปลาที่ต้องการมาเลี้ยง ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญเช่นกัน เพราะหากได้ปลาที่ไม่แข็งแรง ไม่สมบูรณ์ หรือมีเชื้อโรคติดมา ปลาที่ซื้อมาเลี้ยงอาจตายในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน หรืออาจต้องทนเลี้ยงปลาที่ไม่สมสัดส่วนหรือไม่สมประกอบไปอีกนาน วิธีการเลือกซื้อปลาควรจะพิจารณาสิ่งต่อไปนี้

2.1 ควรเลือกซื้อปลาในเวลากลางวัน เนื่องจากจะสังเกตสีสันที่แท้จริงของปลาได้ดี แต่ในปัจจุบันการจัดตู้ปลามีความทันสมัยมากขึ้น โดยร้านขายปลาสวยงามมักจะติดหลอดไฟพวกแสงสะท้อน แล้วเปิดไว้ตลอดเวลาเพื่อทำให้เห็นปลามีสีสดใสมากกว่าที่เป็นจริง

วิธีเลือกซื้อปลาสวยงาม
2.2 สังเกตสภาพของตัวปลา คือเลือกปลาที่ไม่มีร่องรอยความบอบช้ำ เช่นเกล็ดหลุด ครีบแหว่ง หรือมีแผลตามลำตัว เพราะอาจเป็นปลาที่ได้รับการกระทบกระเทือนจากการลำเลียง หรือมีการระบาดของโรคพยาธิเกิดขึ้น ถ้าเลือกซื้อปลาที่บอบช้ำมาเลี้ยงอาจเกิดการติดเชื้อต่างๆได้ ยิ่งถ้ามีการระบาดของโรคพยาธิอยู่แล้ว ปลาที่เลือกซื้อมาก็มักจะตายหมด

2.3 สังเกตลักษณะการว่ายน้ำหรือการทรงตัวของปลา ควรสังเกตว่าชนิดปลาที่จะซื้อมีลักษณะการว่ายน้ำอย่างไร เช่น พวกปลานีออน ปลาเสือสุมาตรา ปลาสอด และปลาซิวชนิดอื่นๆ มักชอบว่ายน้ำวนเวียนไปมาตลอดเวลาบริเวณกลางน้ำถึงผิวน้ำ ต้องไม่เซื่องซึมลงไปพักอยู่ก้นตู้หรือลอยตัวอยู่แต่ผิวน้ำ พวกปลาเทวดา และปลาปอมปาดัวร์ ชอบว่ายน้ำช้าๆลักษณะเป็นสง่า ต้องไม่ไปซุกตามหินหรือมุมตู้

2.4 สังเกตลักษณะการกางของครีบต่างๆ คือปลาปกติที่ไม่มีปัญหาเรื่องการติดเชื้อหรือการเกิดโรค จะกางครีบออกเกือบตลอดเวลา แต่ปลาที่มีอาการผิดปกติมักจะหุบครีบลู่ติดตัวไม่ค่อยกางออก

2.5 สังเกตสีสันของปลา ควรสังเกตเปรียบเทียบปลาในกลุ่มเดียวกัน ปลาที่มีสีสันสดเข้มกว่า ลวดลายเด่นชัด ย่อมมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแกร่งกว่า

2.6 สังเกตความสมบูรณ์ของอวัยวะต่างๆ ควรเป็นปลาที่มีอวัยวะครบถ้วนตรงตามชนิด ลำตัวโดยเฉพาะคอดหางไม่คดงอ ครีบไม่โค้งพับหรือขาดหายไป

2.7 สังเกตว่าไม่มีปลาตายปะปนอยู่ในตู้ปลาที่จะเลือกซื้อ หรือไม่มีปลาที่แสดงอาการติดเชื้อปะปนอยู่