ในช่วงฤดูฝนผู้ที่เลี้ยงปลาทองโดยส่วนใหญ่มักจะเจอปัญหาในเรื่องของสภาพอากาศและสภาพอากาศและสภาพน้ำที่แตกต่างไปจากเดิม เนื่องจากปริมาณน้ำฝนจะมีค่าเปลี่ยนแปลงในเรื่อง ของค่า pH ในกรณีที่เลี้ยงกลางแจ้งจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในเรื่องของน้ำและ อุณหภูมิของน้ำ แต่สำหรับผู้ที่เลี้ยงปลาในร่ม หรือ บริเวณที่มีหลังคา ก็จะเจอปัญหาในเรื่องของอุณหภูมิที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย น้ำบาดาลซึ่งถือว่าเป็นแหล่งน้ำที่ความกระด้างค่อนข้างสูงปลาทองที่เพาะพันธุ์มาจากแหล่งน้ำนี้จะมีสีสันที่เข้มสวย เกล็ดค่อนข้างหนากว่าปลาที่เพาะพันธุ์มาจากแหล่งน้ำประปา ค่า pH ของน้ำที่มาจากทั้งสองแหล่งจะมีความแตกต่างกันถ้าไม่มีการปรับสภาพในเรื่องของภูมิต้านทานโรคปลา เชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในน้ำต่างกันย่อมมีองค์ประกอบแตกต่างกันอย่างแน่นอน การปล่อยปลาทองลงตู้ หรือ อ่างเลี้ยงต้องให้ความสำคัญในเรื่องของอุณหภูมิ ปลาทองส่วนใหญ่สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงเกิน 5 องศาเซลเซียส ปลาอาจเกิดอาการช็อกน้ำได้ อุณหภูมิของน้ำจึงถือเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้เลี้ยงจะละเลยไม่ได้
ปลาทอง |
ปัญหาต่อมาที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ สำหรับผู้เลี้ยงปลาทองก็คือ
ปลาโตช้า และสีสันที่จืดลง เป็นธรรมดาของปลาทองที่เลี้ยงในตู้ที่มีพื้นที่ค่อนข้างจำกัดจะมีการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าปลาที่เลี้ยงในพื้นที่ที่มากกว่า จำนวนของปลาเป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้ปลาโตเร็วหรือช้าเนื่องจากปลาถ้ามีจำนวนปลาที่มากเกินไปพื้นที่จำกัด ถ้ามีพื้นที่มากปลาก็จะเจริญเติบโตได้ดีทั้งนี้เรื่องการเจริญเติบโตของปลาขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างทั้งใน
เรื่องของอาหารและสภาพแวดล้อมภายในตู้ด้วย
ปลาทองเป็นปลาที่กินอาหารเก่งและขับถ่ายของเสียออกมาเร็วมากดังนั้นเมื่อมีจำนวนปลามากปริมาณของเสียก็จะมากตามไปด้วยทำให้โอกาสที่น้ำจะเป็นแหล่งสะสมสารพิษใรรูปของ แอมโมเนีย และไนไตรท์ ก็ยิ่งมีมากขึ้นไปด้วย
No comments:
Post a Comment