Sunday 31 July 2011

ปลาสวยงาม ก็เครียดเป็น

การเลี้ยงปลาตู้นำมาซึ่งความเพลิด เพลินให้กับผู้เลี้ยง มีรายงานทางการแพทย์ว่าผู้ที่เลี้ยงปลาเป็นสัตว์เลี้ยงมักจะมีสุขภาพจิตที่ ดี ไม่ค่อยประสบปัญหาของความดันโลหิตสูงหรือเกิดอาการเครียด อย่างไรก็ตาม ท่านทราบหรือไม่ว่าผู้เลี้ยงเอง อาจทำให้ปลาอยู่ในภาวะเครียดได้โดยไม่รู้ตัว

สาเหตุของความเครียดที่เกิดขึ้นกับปลาเหล่านี้ถูกแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
ความเครียดจากสิ่งแวดล้อม
ปลา เป็นสัตว์เลือดเย็น ดังนั้นอุณหภูมิของร่างกายจะขึ้นกับอุณหภูมิน้ำ ในกรณีที่เลี้ยงปลาในบ่อนอกบ้านหรือกลางแจ้ง ควรจัดบ่อเลี้ยงให้มีร่มเงาบางส่วนหรือมีต้นไม้น้ำเพื่อให้ปลาได้หลบแดดบ้าง หรือติดตั้งเครื่องควบคุมอุณหภูมิน้ำอัตโนมัติหรือ heater ซึ่งมีขายตามร้านขายอุปกรณ์ปลาตู้ นอกจากนั้นคุณภาพของน้ำก็มีความสำคัญเช่นกัน ถ้าท่านใช้น้ำประปาเลี้ยงปลา ควรรองน้ำด้วยภาชนะเปิดแล้วทิ้งไว้ข้ามคืนก่อนใช้และที่สำคัญเช่นกันคือ อุณหภูมิของน้ำที่เปลี่ยนเข้าใส่ตู้ปลาควรใกล้เคียงกับอุณหภูมิของน้ำเดิม

ปลาสวยงาม
สำหรับท่านที่เริ่มเลี้ยงปลาและใช้อุปกรณ์ที่ซื้อมาใหม่ทั้งหมด เมื่อใส่ปลาลงไปเลี้ยงตู้เพียง 1-2 วัน พบว่าน้ำขุ่น และเมื่อเปลี่ยนน้ำใหม่หลังจากนั้นไม่กี่วันก็ยังขุ่นอีก ปลาเริ่มทยอยป่วยหรือตาย เชื่อว่าปัญหานี้เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อมของตู้ปลาที่ยังไม่ได้ปรับเข้าสู่ ภาวะสมดุล เมื่อวัดระดับแอมโมเนียหรือไนไตรท์ จะพบว่ามีระดับที่สูงกว่าปกติ การแก้ไขทำได้โดยเปลี่ยนถ่ายน้ำออกบางส่วน (50-75%) กำจัดอาหารที่ปลากินใม่หมดหรือให้อาหารลดลง ซึ่งในช่วงนี้ปลามักอยู่ในสภาวะเครียดและไม่ค่อยกินอาหาร

ความเครียดจากการปฏิสัมพันธ์ของปลาด้วยกันเอง
ความเครียดประเภทนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและช่วงของการสืบพันธุ์ดังจะเห็น ตัวอย่างจากปลาหมอสี เมื่อยังอายุน้อย เราสามารถเลี้ยงรวมกันได้ แต่เมื่อโตขึ้นมักะจะมีพฤติกรรมก้าวร้าว มีการกัดกัน ก่อให้เกิดบาดแผลซึ่งต่อมามักจะกลายเป็นแผลติดเชื้อ ส่งผลให้ปลาอ่อนแอและกินอาหารได้น้อยลง โตช้า ซึ่งเป็นพฤติกรรมปกติของการแบ่งชนชั้นของปลาเหล่านี้ ดังนั้นท่านควรศึกษาข้อมูลเฉพาะของปลาที่เลี้ยงเพื่อนำมาปรับปรุงการเลี้ยง ให้เหมาะสม



ความเครียดจากการเลี้ยง
ผู้เลี้ยงอาจทำให้ปลาอยู่ในภาวะเครียดได้โดยไม่รู้ตัว เช่น ให้อาหารมากเกินไปทำให้อาหารเหลือจนน้ำเน่า แก้ไขโดยการดูดเอาเศษอาหารออก เปลี่ยนน้ำและลดปริมาณอาหาร หากไม่ทราบว่าควรให้อาหารครั้งละเท่าไหร่ให้ท่านทยอยให้อาหารทีละน้อยจนกว่า ปลาจะไม่กินอาหารซึ่งแสดงว่ามันอิ่ม บางครั้งความเครียดอาจเกิดจากการที่เด็ก ๆ ชอบไล่จับปลามาใส่มือเพื่อสัมผัสเล่น นอกจากทำให้ปลาเครียดแล้ว การสัมผัสกับปลา อาจทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียจากปลาได้ด้วย เพราะแบคทีเรียบางชนิดที่ก่อโรคในปลาสามารถก่อโรคในคนได้ด้วย
การย้ายปลาเป็นสาเหตุให้เกิดความเครียดเช่นกัน การย้ายปลาในระยะใกล้ ๆ ใช้เวลาน้อย ๆ อาจไม่ยุ่งยากแต่ต้องทำด้วยความนุ่มนวล เพื่อไม่ให้ครีบหรือผิวหนังเกิดบาดแผล เมื่อย้ายไปที่ใหม่ควรหาฝาหรือตาข่ายปิดตู้หรือบ่อไว้ เพราะปลาที่เครียดมัดจะกระโดดออกมานอกตู้ ในกรณีที่ต้องขนย้ายปลาเพื่อเดินทางไหล ควรงดให้อาหารปลาก่อนการขนย้ายอย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง เพื่อลดการขับของเสียออกจากร่างกาย เนื่องจากของเสียดังกล่าวจะทำให้ระดับแอมโมเนียในน้ำที่เราขนย้ายสูงขึ้นจน เป็นพิษต่อปลาได้ และไม่ควรขนย้ายในวันที่อากาศร้อนจัด

No comments: