Sunday 8 May 2011

สาเหตุที่ทำให้ปลาตายเฉียบพลัน

สาเหตุที่ทำให้ปลาตายอย่างฉับพลัน ได้แก่ สาเหตุจากการติดเชื้อและสาเหตุจากอุบัติเหตุ ซึ่งแม้จะเกิดไม่บ่อยครั้งก็ตาม แต่ก็สร้างความเสียหายให้กับปลาที่เลี้ยงได้เป็นจำนวนมาก หากท่านไม่อยากสูญเสียปลาที่รักไปก่อนเวลาอันควร ก็ต้องศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ เพื่อจัดมาตรการป้องกัน

การติดเชื้อ
มีเชื้อโรคไม่กี่ชนิด ที่สามารถทำให้ปลาตายได้อย่างฉับพลันและปลาไม่กี่ชนิดที่ตายโดยไม่ทันสังเกต หรือไม่มีอาการให้เห็นล่วงหน้า โดยส่วนใหญ่ปลาที่สัมผัสเชื้อที่ก่อโรค มักจะแสดงอาการอ่อนๆ มาบ้างแล้ว หากมีการสังเกตอย่างถ้วนถี่ อย่างไรก็ตาม ในช่วงฤดูร้อนอาจพบปลา Koi ตายเป็นจำนวนมาก อันเนื่องมาจากการติดเชื้อเหงือกอักเสบรุนแรง

ปลาตายเฉียบพลัน
เคยมีประวัติการตายทั้งร้อยเปอร์เซนต์ทีเดียว ซึ่งมักเกิดตามหลังการนำปลาใหม่ลงบ่อหรือตู้ กรณีนี้อาจมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสเฮอร์บี (Herpes virus) ในปลา Koi ชนิดที่ก่อโรคร้ายแรง

การติดเชื้อไมโครแบคทีเรีย ซึ่งมักจะเป็นโรคเรื้อรังเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ในปลาที่อาศัยในเขตร้อน แถวบ้านเราจะไม่ค่อยเกิดกรณีที่ปลาตายโดยหาสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากเรื่องที่ทราบอยู่แล้วทั้งนั้น

ปลาที่อาการย่ำแย่จากโรคเรื้องรังในร่างกาย อย่างเช่นเนื้องอก ก็อาจจะพบว่าตายลง เนื่องจากการติดเชื้อฉวยโอกาส (Secondary bacterial infection) กรณีอย่างนี้ บางทีก็อาจถูกเหมารวมไปว่าเกิดจากอายุที่มากขึ้น ปลาที่สูงวัยขึ้นก็ได้เช่นกัน

อุบัติเหตุ
อุบัติเหตุหลายประเภทที่ทำให้ปลาตายอย่างฉับพลัน อาทิ การติดอยู่ในหมู่พืชน้ำ สิ่งของตกแต่งตู้ปลาหรือตัวกรองน้ำเข้าและเครื่องสูบน้ำเข้าบ่อ เป็นต้น ส่วนกรณีอุบัติเหตุที่พบได้บ่อยๆ ได้แก่ การหนี ตู้ปลาส่วนใหญ่จะมีฝาครอบปิดด้านบนเพราะปลาบางชนิดชอบกระโดด เพื่อตั้งใจหนีออกจากตู้ปลา ปลาที่กระโดดหนีออกจากตู้ปลามักจะพบว่ามีอาการบาดเจ็บรุนแรง และตายในที่สุด ปลาที่เลี้ยงในบ่อ เช่น ปลาคราฟ หรือ ปลาทอง เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าชอบกระโดดออกจากบ่อ โดยเฉพาะจากบ่อน้ำตื้น แล้วพบแห้งอยู่ข้างบ่อเป็นเวลาหลายๆ ชั่วโมง แล้วยังสามารถกลับไปฟื้นตัวในน้ำได้อีกครั้งในเวลาไม่นาน การขึงตาข่ายรอบๆ บ่อที่เลี้ยงก็อาจจำเป็น เพื่อป้องกันปลาเหล่านี้หลบหนีออกจากบ่อนั่นเอง

ไฟฟ้าช็อต
อันตรายใหญ่หลวงสำหรับปลาและเจ้าของปลา ก็คือไฟฟ้ารั่ว และช็อตเจ้าของบ่อปลา จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องติดตั้งระบบตัดไฟฟ้าอัตโนมัติ สำหรับปลาที่ถูกไฟฟ้าช็อตจะมีอาการป่วยหนัก-เบาแตกต่างกันไปตามระยะเวลา และความแรงของกระแสไฟฟ้าที่ช็อต ปลาบางชนิดเมื่อถูกไฟฟ้าช็อตก็อาจฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วเหมือนกับถูกวางยาสลบเท่านั้น แต่ปลาบางชนิดก็อาจถึงตายได้ จึงควรระวังอย่างยิ่ง

น้ำรั่ว
บ่อยครั้งที่ท่อปล่อยน้ำออกหลวมและหลุดทำให้น้ำในบ่อหรือตู้ปลารั่วออกไปจนหมด การป้องกันกรณีอย่างนี้จำเป็นจำเป็นต้องตรวจตราอุปกรณ์ หรือปั๊มน้ำอย่างถี่ถ้วน

ช็อค
การกีดขวางเหงือกโดยวัตถุแปลกปลอมที่หลุดเข้าไปทางปาก หรือการที่ปลาถูกงับไว้ในปากจนมิดหัว และแผ่นปิดเหงือกอาจทำให้ปลาช็อค เนื่องจากขาดอากาศหายใจก็ได้

No comments: