Sunday 26 October 2008

การบริหารงานเพาะเลี้ยงปลา

การบริหารงานเพาะเลี้ยงปลา
งานเพาะเลี้ยงปลาหรือการดูแลรักษาบ่อปลานั้นเป็นเทคนิคที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการเลี้ยงปลา ซึ่งถ้าผู้เลี้ยงปลาไม่ค่อยดูแลเอาใจใส่บ่อปลาแล้ว อาจทำให้เกิดปัญหาตามมาทีหลัง ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมาก ดังนั้นการดูแลรักษาและเอาใจใส่บ่อปลาเพื่อให้การเลี้ยงปลาประสบผลสำเร็จนั้น ผู้เลี้ยงควรคำนึงถึงเรื่องต่างๆดังนี้คือ

โดยปกติการเลี้ยงปลาในบ่อนั้นจำเป็นที่จะต้องกำจัดศัตรูปลาให้หมดก่อนที่จะถูกปล่อยลูกปลาลงเลี้ยง ศัตรูที่สำคัญในบ่อปลา ได้แก่ ปลาช่อน ปลาหมอ ปลาไหล กบ เขียด เป็นต้น ศัตรูพวกนี้กำจัดได้โดยใช้โล่ติ๊น 1 กิโลกรัมต่อปริมาตรน้ำในบ่อ 100 ลูกบาศก์เมตร สาดให้ทั่วบ่อแล้วทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน จึงเติมน้ำลงในบ่อและปล่อยปลาลงเลี้ยงได้ ในกรณีที่บ่อสูบน้ำจนแห้งควรใส่ปูนขาวในอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อ 10 ตารางเมตร เพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อนที่จะสูบน้ำลงบ่อ ในกรณีที่ปล่อยปลาและเลี้ยงปลาในระยะหนึ่งแล้วตาปรากฏว่าได้มีปลาช่อนหรือศัตรูชนิดอื่นๆ สามารถเล็ดลอดเข้าไปอาศัยอยู่ในบ่อเลี้ยงปลานั้น จำเป็นจะต้องใช้อวนจับปลาที่เป็นศัตรูออกให้หมด นอกจากการใช้อวนจับแล้วอาจจะใช้แหก็ได้ ฉมวกหรือเครื่องมืออย่างใดก็ได้ตามแต่เหมาะสม ซึ่งผู้เลี้ยงปลาจำเป็นต้องตรวจตราดูแลเอาใจใส่บ่อเลี้ยงปลาของตนเองอยู่เสมอๆ

บ่อเพาะเลี้ยงปลา
น้ำในบ่อเลี้ยงนั้นต้องคำนึงถึงสภาพของน้ำว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร ถ้ามีสีเขียวใสแสดงว่าน้ำดี แต่ถ้าสภาพของน้ำขุ่นเป็นสีโคลนแสดงว่ามีสารแขวนลอยอยู่มาก เช่น บ่อที่ขุดใหม่ๆ จึงจำเป็นต้องทำให้ตกตะกอน โดยใช้ปุ๋ยพืชสดหรือฟางข้าวใส่หมักไว้ ซึ่งจะทำให้สารแขวนลอยตกตะกอน น้ำเปลี่ยนสภาพเป็นกลางน้ำจะใสขึ้น เมื่อปล่อยปลาลงวเลี้ยงจึงจะทำให้ปลาโตได้ดี แต่ในกรณีที่น้ำในบ่อมีสีเขียวจัด ควรสูบน้ำออกบ้างแล้วเติมน้ำใหม่ เพื่อให้สีเขียวเจือจางลง การให้อาหารปลาที่มากเกินไปก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำเสีย



ผู้ที่เลี้ยงปลาดุกและปลาช่อนจะต้องคอยเปลี่ยนน้ำในบ่อให้ดีอยู่เสมอ การเลี้ยงปลาทั้งสองชนิดนี้ต้องลงทุนค่อนข้างสูง ให้อาหารสม่ำเสมอทุกวัน ส่วนการเลี้ยงปลาแบบกินพืช เช่น ปลานิล ปลาตะเพียน นั้นไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยนัก จะเปลี่ยนก็ต่อเมื่อเห็นว่าน้ำเสียจึงจะสูบออกและเติมน้ำใหม่เข้าไปในบ่อ



ดินดีและน้ำดีมีส่วนช่วยให้ปลาโตเร็ว ปุ๋ยที่จใส่ะบำรุงบ่อปลาใช้ได้ทั้งมูลสัตว์หรือฟางหมัก ปุ๋ยเหล่านี้ทำให้เกิดจุลินทรีย์พืชและไรน้ำเล็กๆ ซึ่งเป็นอาหารธรรมชาติที่ดีของปลาและลูกปลาที่เลี้ยง ปุ๋ยมีหลายชนิดและวิธีใช้มีต่างๆกัน ชนิดปุ๋ยและอัตรส่วนเท่าที่ได้ทดลองแล้วได้ผลดังนี้

1.ปุ๋ยคอก ได้จาก มูลสัตว์ เช่น โค กระบือ เป็ด ไก่ ควรตากให้แห้งก่อน ใช้ปุ๋ยนี้ 1 กิโลกรัมต่อเนื้อที่ 3 ตารางเมตร

2.กากถั่ว ได้จาก ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ใช้ปุ๋ยนี้ 1 กิโลกรัมต่อเนื้อที่ 20 ตารางเมตร

3.ฟางหมัก ใช้ได้ 6 กิโลกรัมต่อเนื้อที่ 10 ตารางเมตร

4.ปูนขาว ได้จาก เปลือกหอยหรือหินบด ใช้ 1 กิโลกรัมต่อเนื้อที่ 50 ตารางเมตร หารดินค่อนข้างเป็นกรด (ดินเปรี้ยว)

ปุ๋ยแต่ละชนิดใช้ได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นบ่อใหม่หรือบ่อเก่า แต่ควรใส่เดือนละครั้ง สาดและโรยปุ๋ยให้ทั่วพื้นบ่อ หลังจากนั้นประมาณ 5 วัน น้ำในบ่อจะเปลี่ยนสี ถ้าเป็นปุ๋ยคอกน้ำในบ่อจะมีสีน้ำตาล ถ้าใช้กากถั่วและฟางหมักน้ำจะเปลี่ยนเป็นสีเขียว ซึ่งแสดงว่าเกิดอาหารธรรมชาติในบ่อแล้ว

No comments: