Thursday, 26 May 2011

ปลากราย

ชื่ออังกฤษ Kinfe fish, Spotted knife fish, Featherback

ชื่อไทย มีเรียกหลายชื่อ ได้แก่ปลากราย ปลาหางแพน ปลาตอง ปลาตองกราย

ปลากราย (, Haminton) เป็น ปลาน้ำจืดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ประชาชนชอบบริโภคเนื่องจากเนื้อปลากรายมีรสชาติดีสามารถนำมาปรุงอาหารได้ หลายชนิด พบตามแหล่งน้ำทั่วๆ ไปของประเทศไทย ในต่างประเทศเช่น เขมร พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย เป็นต้น


ปลากราย (ปลาตองลาย)
รูปร่างลักษณะ เป็นปลาลำตัวแบน บาง ยาวเรียวไปทางส่วนหางคล้ายมีด ส่วนหลังโค้ง หัวเล็กเว้าตรงต้นคอปากค่อนข้างกว้าง ลำตัวเป็นสีเงินหรือสีเงินปนเทา ลำตัวด้านหลังจะคล้ำ ส่วนด้านท้องจะมีสีจางกว่า บริเวณท่อนหางจะมีจุดสีดำประมาณ 5-10 จุด เรียงกันไป แต่ถ้าเป็นปลากรายขนาดเล็ก อายุยังน้อยจะยังไม่มีจุดดำ แต่จะมีลายแถบสีดำพาดขวางลำตัวแทนต่อเมื่อปลาโตขึ้นลายดำจะหายไป เกิดจุดดำขึ้นมาแทน ครีบด้านล่างของปลากรายยาวติดต่อกันไปเป็นพืด ครีบด้านหลังมีขนาดเล็กตรงกึ่งกลางลำตัว ครีบอก 2 ข้างก็เช่นเดียวกัน มีขนาดไม่ใหญ่โตนัก

อุปนิสัย ปัจจุบันวงการปลาสวยงามหันมาสนใจปลากรายมากขึ้น ส่วนมากจะจับมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึงขนาดใหญ่ ปลากรายมักจะมีชุกชุมในแหล่งน้ำนิ่งๆ เมื่อผสมพันธุ์วางไข่แม่ปลากรายจะวางไข่ติดกับเสา หลัก ตอไม้น้ำ หรือก้อนหินในน้ำ วางไข่แล้วพ่อแม่ปลาจะช่วยกันดูแลไข่ด้วยความหวงแหน ปลากรายระยะนี้ค่อนข้างดุร้ายคอยโบกแพนหางเฝ้าไข่ไม่ยอมให้ศัตรูเข้าใกล้ ปลากรายเมื่อมีอายุมากๆ จะมีลำตัวยาวเกือบๆ เมตร แต่เดิมจะถูกจับขึ้นมาเพื่อปรุงเป็นอาหาร ขูดเนื้อทำลูกชิ้นหรือทอดมัน แต่ปัจจุบันนำมาขายกันเป็นปลาสวยงามซึ่งสามารถเลี้ยงให้คุ้นเคยและสวยงามดี

การเลี้ยงดู จากลักษณะปากกว้าง ฟันเป็นซี่ๆ ภายในปาก บอกให้รู้ถึงลักษณะการกินอาหาร ปลากรายกินสิ่งที่มีชีวิตเป็นอาหาร เป็นต้นว่า ลูกกุ้ง ลูกปลา ตัวหนอน ตัวแมลงในน้ำ สำหรับลูกปลากรายตัวเล็กๆ อาจเลี้ยงด้วย ไรน้ำ ลูกน้ำ ก็ได้ แต่ในขณะนี้ได้มีการฝึกเพื่อกินอาหารเม็ดลอยน้ำ เพื่อความสะดวกในการเลี้ยง

No comments: