Thursday, 19 May 2011

ปลากระสูบ

เป็นปลาน้ำจืดกลุ่มหนึ่งของไทยที่อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Family Cyprinidae) ซึ่งเป็นปลากลุ่มใหญ่ที่สุดของปลาน้ำจืดไทยเรา ปลาในกลุ่มนี้มีลักษณะเด่นที่ค่อน ข้างชัดเจนกล่าวคือปลากลุ่มนี้จะไม่มีฟันที่กระดูกขากรรไกร แต่จะมีพัฒนาการในกระดูกคอหอย (pharyngeal bone) ให้มีลักษณะเหมือนฟันเรียกว่า (pharyngeal teeth) ปลากระสูบเป็นปลา สกุลหนึ่งที่มีการกระจายพันธุ์แทบทุกภาคของประเทศ โดยสามารถพบได้ทั้งในบริเวณที่เป็นแหล่ง น้ำนิ่งและเป็นแหล่งน้ำไหลแม้แต่ในบริเวณที่เป็นลำธารตื้นๆ ที่ไหลมาจากน้ำตก ปลากระสูบที่พบในลุ่มน้ำต่างๆ ของไทยเรามีทั้งสิ้น 3 ชนิด

ปลากระสูบขีด
1. ปลากระสูบขีด
ชื่อเรียก กระสูบ(ภาคกลาง) สูบ(ภาคใต้) สูด(ภาคอิสาน)
ชื่อวิทย์ (Hampala macrolepidota Valenciennes)
เป็นปลากระสูบ (Hampala) ที่มีการกระจายพันธ์กว้างที่สุดในสกุลนี้ โดยสามารถพบ ได้ในลุ่มน้ำตะนาวศรีในพม่า แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง แม่น้ำในเขตภาคตะวันออกของไทย ภาคใต้ มาเลเซีย อินโดนีเซียพบในเกาะสุมาตรา ชวา(เป็น Type locality ของปลาชนิดนี้) และ กาลิมันตัน ปลากระสูบชนิดนี้เป็นตัวอย่างต้นแบบของปลาในสกุลปลากระสูบ (Hampala) ทุกชนิด แหล่งที่สำคัญที่สุดที่จะพบปลากระสูบขีดได้ดีจะมีลักษณะเป็นแหล่งน้ำนิ่ง ขนาดใหญ่ที่มีน้ำค่อนข้างใส ไม่ว่าจะเป็นอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน หรือในหนองบึงธรรมชาติขนาดใหญ่ เช่นที่บึงบอระเพ็ด เขื่อนศรีนครินทร์ เป็นต้น

ปลาชนิดนี้มีลักษณะเด่นค่อนข้างชัดเจนและสมกับชื่อกระสูบขีด กล่าวคือในปลาตัว เต็มวัยขนาดความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ขึ้นไปจะมีแถบดำอยู่ในแนวขวางในแนวด้านข้าง ลำตัว ซึ่งจะเป็นแถบที่เห็นชัดที่สุดอย่างไรก็ดีในปลาบางตัวจะมีแถบบริเวณโคนครีบ หางและแถบ ขวางคาดตาเพิ่มขึ้นด้วยแม้ว่าจะมีขนาดใหญ่แล้วก็ตาม

ปลากระสูบจุด
2. ปลากระสูบจุด (ภาคกลาง) สูด(อิสาน)
ชื่อวิทย์(Hampala dispar Smith)
ปลา กระสูบชนิดนี้มีแหล่งที่ถูกเก็บและตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ครั้งแรกจาก แม่น้ำมูล จังหวัด อุบลราชธานี โดย H.M. Smith ในปี 1934 ปลากระสูบชนิดนี้มีลักษณะเด่นโดยจะมีจุดกลมอยู่ใน แนวด้านข้างลำตัว นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบกับปลากระสูบขีด หรือ ปลากระสูบพม่า แล้ว กระสูบสุดจะมีลำตัวอ้วนป้อมกว่า หัวสั้นกว่า และมีหางสั้น ครีบต่างๆ ของกระสูบจุดใสไม่มีสี นอกจากครีบหางที่มีสีส้ม ส่วนมากจะไม่มีแถบดำที่บริเวณขอบด้านบนและล่างของครีบหาง

มีหนวดสั้น 1 คู่ที่ริมฝีปาก ครีบหลังค่อนข้างเล็ก ครีบหางเว้าลึก เกล็ดค่อนข้างใหญ่ ตัวมีสีเงิน ด้านหลังสีคล้ำอมน้ำตาล ด้านท้องสีจาง ด้านข้างลำตัวมีจุดสีคล้ำข้างละหนึ่งดวง ครีบมีสีแดงเรื่อ ครีบหางมีสีแดงไม่มีแถบสีคล้ำ โดย พบตัวอย่างจำนวนน้อยเท่านั้นที่พบแถบดังกล่าว

ปลากระสูบพม่า
3. ปลากระสูบพม่าหรือกระสูบสาละวิน
ชื่อวิทย์(Hampala salweenensis Doi&Taki)
ปลา กระสูบชนิดนี้เป็นน้องใหม่ของวงการปลากระสูบ ถูกตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรก จากตัวอย่างที่มาจากแม่น้ำเมย จังหวัดตาก โดย Doi&Taki ในปี 1994 นี่เอง อย่างไรก็ดีปลาชนิด นี้พบได้ทั่วไปในระบบลุ่มน้ำสาละวินรวมถึงลำน้ำสาขาทางตอนล่างติดกับชายแดน อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ปลากระสูบชนิดนี้มีลำตัวเพรียวยาวกว่ากระสูบสองชนิดที่กล่าวถึงข้างต้น และมีจุดเด่นที่สำคัญคือเมื่อเปรียบเทียบกับกระสูบขีดจะมีลักษณะตำแหน่งแถบ ตามขวางคล้ายคลึงกันรวมทั้งลักษณะสีของครีบหาง

ที่แตกต่างกันมากที่สุดคือปลากระสูบขีดนั้นแถบตามขวาง มีลักษณะเป็นขีดแต่แถบตามขวางของกระสูบพม่ามีลักษณะเป็นแต้มคล้ายรอยนิ้วมือ และมีขนาดใหญ่ นอกจากนี้แต้มดังกล่าวจะเห็นได้ชัดและมีขนาดใหญ่มากในช่วงที่ปลามีขนาดเล็ก เมื่อ ปลาเจริญเติบโตขึ้นแต้มดังกล่าวทั้งสามแต้มก็จะไม่จางหายไป (ในกรณีที่อยู่ในที่เลี้ยงแต้มของ ปลาอาจจางได้ถ้าสภาพของตู้ไม่เหมาะสม) ปลากระสูบพม่าเท่าที่มีรายงานโตเต็มที่มีความยาว ประมาณ 40 เซนติเมตร

No comments: