Wednesday 30 March 2011

ปลาม้าลาย

ปลาม้าลาย
ปลาม้าลายมีแหล่งกำเนิดในอินเดียตะวันออก เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายที่สุด การที่เรียกปลาชนิดนี้ว่าม้าลาย ก็นับว่าเหมาะสมกับลักษณะของปลาย่างยิ่ง ปลาม้าลายมีแถบดำสามแถบพาดยาวไปตามลำตัว ตั้งแต่หัวจรดหาง ซึ่งแถบดำนี้ตรงกันข้ามกับแถบบนตัวม้าลาย

ปลาม้าลายเป็นปลาที่ว่องไวทั้งในการว่ายน้ำและการแพร่พันธุ์ปลาม้าลายผสมพันธุ์กันด้วยความรวดเร็วมาก ขณะที่มันว่ายไปตามความยาวของตู้เลี้ยงก็จะปล่อยไข่ออกมา ไข่ก็จะร่วงพรูลงสู่ก้นตู้เลี้ยง ในตู้ปลาขนาดกลางที่ใส่น้ำสูง 20 ซม. ปลาม้าลายจะว่ายรอบตู้ปลาได้สองรอบอย่างสบาย ๆก่อนไข่ที่มันปล่อยออกจากท้องจะตกถึงพื้นก้นตู้เลี้ยง นี่เป็นปัญหาของนักเลี้ยงปลาเพราะเมื่อแม่ปลาว่ายมาพบไข่มันก็จะกินไข่ทันที แล้วก็ปล่อยไข่ชุดต่อไปออกมาอีกเมื่อว่ายกลับมาพบไข่ก็จะกินอีก นักเลี้ยงปลาได้ค้นหาวิธีป้องกันไข่ปลาม้าลายเพื่อไม่ให้ตกเป็นอาหารของตัวแม่ และมีอีกหลายวิธีทั้งนี้แล้วแต่ความคิดของผู้เลี้ยงวิธีหนึ่งที่ใช้ได้ผลมากแล้วก็คือเป็นวิธีสังเกตเพศปลาม้าลายได้อีกวิธีหนึ่ง หลังจากปล่อยปลาตัวเมียลงในตู้แล้วหนึ่งหรือสองวัน จึงจับปลาตัวผู้ที่ว่องไวและแข็งแรงใส่ลงไปสามหรือสี่ตัว อย่าเลือกปลาตัวผู้ที่ไม่ยอมเข้ากับฝูงใส่ลงไปในตู้เพาะพันธุ์เพราะมันจะไม่ช่วยในการผสมพันธุ์แล้วมันยังจะคอยกินไข่ที่ตัวเมียไข่ออกมาด้วย
ปลาม้าลาย
การที่ใส่ปลาตัวผู้ สามหรือสี่ตัวลงไปในตู้เพาะพันธุ์นั้น มีเหตุผลอยู่ 2 ประการคือ
ประการแรก เพื่อสังเกตว่า ตัวไหนบ้างที่ไม่ยอมว่ายเข้าฝูง จะได้จับออกได้ทันท่วงที

ประการที่สอง สมมุติว่าเราดูเพศปลาได้อย่างถูกต้องการที่ใส่ปลาตัวผู้ลงไปสามหรือสี่ตัวก็เพื่อให้ไข่ที่ปลาตัวเมียปล่อยออกมาได้ผสมทั่วถึงหมดทุกฟอง ถ้าใส่ปลาตัวผู้เพียงตัวเดียว ตัวเมียอาจวางไข่มากเกินไปจนน้ำเชื้อปลาตัวผู้ผสมไม่ทั่วถึงหมดทุกฟองภายหลังที่วางไข่แล้ว ท้องของปลาตัวเมียจะแห้ง ตักปลาทุกตัวออกจากตู้ไปใส่ไว้ในตู้เลี้ยงตามเดิม ในตู้ที่มีไข่ปลาอยู่

No comments: