Wednesday 29 October 2008

ปลานิล

ปลานิล Tilapia nilotica
ปลานิลเป็นปลาน้ำจืด มีถิ่นกำเนิดในประเทศแอฟริกาและลุ่มน้ำจอร์แดน เป็นปลาพื้นเมืองที่พบได้ทั่วไปตามลำคลอง หนอง บึงทั่วไป รูปร่างของปลานิลลักษณะคล้ายกับปลาหมอเทศ แต่มีสีจางกว่า ลำตัวมีควงามยาว 45-50 เซนติเมตร มีริมฝีปากบนและล่างเสมอกัน บริเวณแก้มมีเกล็ด 4 แถว และมีเกล็ดสีเข้มอยู่จุดหนึ่ง

ธรรมชาติของปลานิลนั้นเป็นปลาที่ชอบอาศัยรวมกันเป็นฝูงอยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย อดทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี เป็นปลาที่กินอาหารจำพวกพืช มีไข่ดกและขยายพันธุ์ได้ตลอดปี ใช้เวลาเลี้ยงสั้น เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย มีรสชาติดี จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงและบริโภคกันอย่างแพร่หลาย

การเพาะเลี้ยงปลานิล
การะเพาะพันธุ์ปลานิลให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพ ต้องได้รับการเอาใจใส่และมีการปฏิบัติใน ด้านต่าง ๆ เช่น การเตรียมบ่อ การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ การตรวจสอบลูกปลา และการอนุบาลลูกปลา สำหรับการเพาะปลานิลอาจทำได้ทั้งในบ่อดินและบ่อปูนซิเมนต์ และกระซังไนลอนตาถี่ ดังวิธีการ ต่อไปนี้

ปลานิล
1. การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์
1.1 บ่อดิน บ่อเพาะปลานิลควรเป็นบ่อรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเนื้อที่ตั้งแต่ 50-1,600 ตารางเมตร สามารถเก็บกักน้ำได้ระดับสูง 1 เมตร บ่อควรมีเชิงลาดตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันดินพังทลาย และมี ชานบ่อกว้าง 1-2 เมตร ถ้าเป็นบ่อเก่าก็ควรวิดน้ำและสาดเลนขึ้น ตกแต่งภายในบ่อให้ดินแน่น ใส่โล่ติ๊น กำจัดศัตรูของปลาอัตรส่วนใช้โล่ติ๊นแห้ง 1 กก./ปริมาตรของน้ำ 100 ลูกบาศก์เมตร โรยปูนขาวให้ทั่วบ่อ 1 กก./ พื้นที่บ่อ 10 ตรม. ใส่ปุ่ยคอกแห้ง 300 กก./ไร่ ตากบ่อทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน จึงเปิดหรือสูบน้ำเข้าบ่อ ผ่านผ้ากรองหรือตะแกรงตาถี่ให้มีระดับสูงประมาณ 1 เมตร การใช้บ่อดินเพาะปลานิลจะมีประสิทธิภาพ ดีกว่าวิธีอื่น เพราะเป็นบ่อที่มีลักษณะคล้ายคลึงธรรมชาติ และการผลิตลูกปลานิลจากบ่อดินจะได้ ผลผลิตสูง ต้นทุนต่ำกว่าวิธีอื่น

1.2 บ่อปูนซีเมนต์ ก็สามารถใช้ผลิตลูกปลานิลได้ รูปร่างของบ่อจะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือรูปกลม ก็ได้ มีความลึกประมาณ 1 เมตร พื้นที่ผิวน้ำตั้งแต่ 10 ตารางเมตร ขึ้น ทำความสะอาดบ่อและ เติมน้ำที่กรองผ้าในล่อนหรือมุ้งลวดตาถี่ให้มีระดับน้ำสูงประมาณ 80 ซม. ถ้าใช้เครื่องเป่าลมช่วย เพิ่มออกซิเจน ในน้ำ จะทำให้การเพาะปลานิลด้วยวิธีนี้ได้ผลมากขึ้น อนึ่ง การเพาะปลานิลด้วยบ่อซีเมนต์ ถ้าจะให้ได้ลูกปลามากก็ต้องใช้บ่อขนาดใหญ่ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนสูง

1.3 กระชังในล่อนตาถี่ ขนาดของกระชังที่ใช้ประมาณ 5 x 8 x 2 เมตร เมตร วางกระชังในบ่อดินหรือ ในหนองบึง อ่างเก็บน้ำ ให้พื้นกระชังอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำ ประมาณ 1 เมตร ใช้หลักไม้ 4 หลัก ผูกตรงมุม 4 มุม ยึดปากและพื้นกระชังให้แน่นเพื่อให้กระชังขึงตึง การเพาะปลานิลด้วยวิธีนี้มีความเหมาะ ที่จะใช้ผลิต ลูกปลาในกรณีซึ่งเกษตรกรไม่มีพื้นที่ดินก็สามารถจะเลี้ยงปลาได้ เช่น เลี้ยงในอ่างเก็บน้ำหนอง บึงและ ลำน้ำต่าง ๆ เป็นต้น



2. การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
การคัดเลือกพ่อแม่ปลานิล จากการสังเกตจากลักษณะภายนอกของปลา ที่สมบูรณ์ปราศจากเชื่อ โรคและบาดแผล สำหรับพ่อแม่ปลาที่พร้อมจะวางไข่นั้นสังเกตได้จากอวัยวะเพศถ้าเป็นปลาตัวเมีย และมีสีชมพูแดงเรื่อ ส่วนปลาตัวผู้ก็สังเกตได้ จากสีของตัวปลาที่เข้มสดใสโดยเปรียบเทียบกับปลานิล ตัวผู้อื่น ๆ ที่จับขึ้นมาขนาดของปลาตัวผู้และตัวเมียควรมีขนาดไล่เลี่ยกันคือมีความยาวตั้งแต่ 15-25 เซนติเมตร น้ำหนักตั้งแต่ 150-200 กรัม

3. อัตราส่วนที่ปล่อยพ่อแม่ปลาลงเพาะ
ปริมาณพ่อแม่ปลาที่จะนำไปปล่อยในบ่อเพาะ 1 ตัว/4 ตารางเมตร หรือไร่ละจำนวน 400 ตัว ควรปล่อยในอัตราส่วนพ่อปลา 2 ตัว /แม่ปลา 3 ตัว เนื่องจากได้สังเกตจากพฤติกรรมในการ ผสมพันธุ์ของปลาชนิดนี้ ปลาตัวผู้มีสมรรถภาพที่จะผสมพันธุ์กับปลาตัวเมียอื่น ๆ ได้อีก ดังนั้น การเพิ่มอัตราส่วนของปลาตัวเมียให้มากขึ้นคาดว่าจะได้ลูกปลานิลเพิ่มขึ้นส่วนการเพาะปลานิลในกระชัง ใช้อัตราส่วนของปลา 6 ตัว/ตารางเมตร โดยใช้ตัวผู้ 1 ตัว/ตัวเมีย 3-5 ตัว การเพาะปลานิลแต่ละรุ่น จะใช้ เวลาประมาณ 2 เดือน จึงเปลี่ยนพ่อแม่ปลารุ่นใหม่ต่อไป

4. การให้อาหารและปุ๋ยในบ่อเพาะพันธุ์
การเลี้ยงปลานิลมีความจำเป็นที่จะต้องให้อาหารสมทบ หรืออาหารผสมได้แก่ ปลายข้าว สาหร่าย รำละเอียด ในอัตราส่วน 1:2:3 โดยให้อาหารดังกล่าวแก่พ่อแม่ปลานิลประมาณ 2% ของน้ำหนักตัว ทั้งนี้เพื่อให้ปลานิลใช้เป็นพลังงาน ซึ่งต้องใช้มากกว่าในช่วงการผสมพันธุ์ส่วนปุ๋ยคอก แห้งก็ต้องใส่ในอัตรส่วนประมาณ 100-200 กก./ไร่/เดือน ทั้งนี้เพื่อเพิ่มพูนอาหารธรรมชาติในบ่อได้แก่ พืชน้ำขนาดเล็ก ๆ ไรน้ำ และตัวอ่อน อันจะเป็นประโยชน์ต่อลูกปลานิลวัยอ่อนที่หลัง จากถุงอาหาร ยุบตัวลง และจะต้องดำรงชีวิตอยู่ใน พ่อเพาะดังกล่าวประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนที่จะย้ายไปเลี้ยงใน บ่ออนุบาล ถ้าในบ่อขาดอาหารธรรมชาติ ดังกล่าว ผลผลิตลูกปลานิลจะได้น้อยเพราะขาดอาหาร ที่จำเป็นเบื้องต้น หลังจากถุงอาหารได้ยุบ ตัว ลงใหม่ ๆ ก่อนที่ลูกปลานิลจะสามารถกินอาหารสมทบอื่น ๆ ได้ อาหารสมทบ ที่หาได้ง่ายคือ รำข้าว ซึ่งควรปรับปรุงคุณภาพได้ดียิ่งขึ้นโดยใช้ปลาป่น กากถั่ว และวิตามินเป็นส่วนผสม นอกจากนี้แหนเป็ด และสาหร่าย หลายชนิดก็สามารถจะใช้เป็นอาหาร เสริมแก่พ่อแม่ปลา นิลได้เป็นอย่างดี ในกรณีที่ใช้กระชังในล่อนตาถี่เพาะพันธุ์ปลานิลก็ควร ให้อาหารสมทบแก่พ่อแม่ปลาอย่างเดียว

No comments: