Sunday 27 February 2011

ปลาสิงโต

ปลาทะเลที่เลี้ยงได้ไม่ยากจนเกินไปนัก เหมาะสำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง ซึ่งจะกล่าวถึงข้อดี - ข้อเสีย สำหรับปลาแต่ละตัวไว้สำหรับพิจารณาศึกษาข้อดีข้อเสียของปลาแต่ละพันธุ์แต่ละชนิดนะครับ


ปลาสิงโต ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 8.5 )
เป็นปลาที่มีรูปร่างสวยงามมาก โดดเด่นและสะดุดตา ปลาสิงโตนี้มีหลายพันธุ์แตกต่างกันไป ซึ่งเป็นปลาที่แปลกและหาได้ไม่ยาก



ปลาสิงโต
ข้อดี
1. เป็นปลาที่ค่อนข้างทนในหลายๆสภาวะแวดล้อม จัดว่าเลี้ยงง่าย
2. เป็นปลาที่มีความสวยงามมากชนิดหนึ่ง มีครีบที่ดูอลังการ
3. มีราคาไม่สูงมากถ้าเทียบกับความสวยงามของมัน

ข้อเสีย
1. เป็นปลาที่ไม่กินอาหารสำเร็จรูป ต้องเลี้ยงด้วยอาหารสด ซึ่งให้เพียงไรทะเลอาจไม่เพียงพอ อาจต้องให้กุ้งฝอย ซึ่งค่อนข้างยุ่งยาก
2. ไม่สามารถเลี้ยงรวมกับกุ้ง หรือ ปลาขนาดเล็กกว่าปากมันได้ เนื่องจากจะถูกกินเป็นอาหาร
3. มีพิษที่ครีบ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้เลี้ยงได้ถ้าเผลอไปโดน


Friday 25 February 2011

ปลาตระกูล Wrasse

ปลาทะเลที่เลี้ยงได้ไม่ยากจนเกินไปนัก เหมาะสำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง ซึ่งจะกล่าวถึงข้อดี - ข้อเสีย สำหรับปลาแต่ละตัวไว้สำหรับพิจารณาศึกษาข้อดีข้อเสียของปลาแต่ละพันธุ์แต่ละชนิดนะครับ


ปลาตระกูล Wrasse ( ระดับความยากในการเลี้ยง : 8 )
สำหรับปลาตระกูลนี้บางชนิดก็เลี้ยงยาก เช่น ปลาพยาบาล มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่เลี้ยงง่าย เช่น Sixline wrasse, ปลากัดทะเล , แก้วเหลือง , แก้วแดง เป็นต้น ซึ่งเวลานอนอาจจะมุดทราย หรือ สร้างเมือกขึ้นมาห่อหุ้มตัวเอง

ปลาตระกูล Wrasse
ข้อดี
1. เป็นปลาที่กินอาหารง่าย ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด
2. สามารถทนสภาวะแวดล้อมต่าง ๆได้ดี
3. เป็นปลาเล็ก ที่มีสีสันสวยงาม ฉูดฉาดสะดุดตา
4. เป็นปลาที่นิสัยสงบ ไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้รวมทั้งพวกเดียวกัน

ข้อเสีย
1. เป็นปลาที่ค่อนข้างอ่อนแอในบางภาวะ อาจตายโดยไม่ทราบสาเหตุ


Wednesday 23 February 2011

ปลาคาร์ดินัล

ปลาทะเลที่เลี้ยงได้ไม่ยากจนเกินไปนัก เหมาะสำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง ซึ่งจะกล่าวถึงข้อดี - ข้อเสีย สำหรับปลาแต่ละตัวไว้สำหรับพิจารณาศึกษาข้อดีข้อเสียของปลาแต่ละพันธุ์แต่ละชนิดนะครับ

ปลาคาร์ดินัล ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 7.5 )
ส่วนมากที่พบคือ ปลาคาร์ดินัลลองฟิน ที่มีลายขาวสลับดำและ ปลาคาร์ดินัลตาแดง ซึ่งเป็นปลาที่ชอบลอยนิ่งๆอยู่กับที่ ไม่ค่อยว่ายน้ำไปไหน มีลักษณะตาโต สีสันสวยงาม



ปลาคาร์ดินัล
ข้อดี
1. สามารถทนสภาวะแวดล้อมต่าง ๆได้ดี แต่ถ้าสภาวะเปลี่ยนแปลงมากจะเป็นจุดขาวและอาจเปื่อยได้
2. เป็นปลาที่นิสัยสงบมาก ไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้และสามารถเลี้ยงได้มากกว่า 1 ตัวในตู้ โดยวันๆจะลอยนิ่งอยู่กลางน้ำ
3. มีรูปร่างแปลกเป็นเอกลักษณ์ สวยงาม

ข้อเสีย
1. มีปัญหาเรื่องการกินอาหารส่วนมากจะกินแต่อาหารสด ไม่ค่อยกินอาหารเม็ด นอกจากจะเลี้ยงไปนานๆหรือฝึกให้กิน ปัญหาเรื่องการให้อาหาร


Tuesday 22 February 2011

ปลาตระกูลโกบี้

ปลาทะเลที่เลี้ยงได้ไม่ยากจนเกินไปนัก เหมาะสำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง ซึ่งจะกล่าวถึงข้อดี - ข้อเสีย สำหรับปลาแต่ละตัวไว้สำหรับพิจารณาศึกษาข้อดีข้อเสียของปลาแต่ละพันธุ์แต่ละชนิดนะครับ

ปลาตระกูลโกบี้ ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 8.5 )
เป็นปลาที่มีหลายสายพันธุ์มากที่เห็นบ่อยได้แก่ แก้วปะการัง, Two spot goby ,โกบี้บิน , โกบี้ขาว เป็นต้น




ปลาแก้วประการัง
ข้อดี
1. เป็นปลาที่กินอาหารง่าย ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด บางชนิดอาจกินตะไคร่ได้ดี เช่น Two spot goby หรือบางชนิดอาจจะกินตะไคร่ตามพื้นทรายโดยการอมทรายเข้าไปแล้วปล่อยออกมา
2. สามารถทนสภาวะแวดล้อมต่าง ๆได้ดี
3. เป็นปลาที่นิสัยสงบ ไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้
4. บางชนิดมีสีสันสวยงามและราคามีหลายระดับตั้งแต่ถูกถึงแพง

ข้อเสีย
1. บางชนิดอาจมีสีสันไม่ค่อยสวยงาม หน้าตาประหลาด
2. บางชนิดที่อมทราย จะเป็นการกำจัดสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่มีประโยชน์ในทรายและอาจจะพ่นทรายฟุ้งในตู้ทำให้น้ำขุ่นและรบกวนปะการัง
3. ดุร้ายกับพวกเดียวกันนอกจากจับคู่แล้ว จึงแนะนำให้เลี้ยงตู้ละ 1 ตัว


Sunday 20 February 2011

ปลาตระกูลเบลนนี่

ปลาทะเลที่เลี้ยงได้ไม่ยากจนเกินไปนัก เหมาะสำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง ซึ่งจะกล่าวถึงข้อดี - ข้อเสีย สำหรับปลาแต่ละตัวไว้สำหรับพิจารณาศึกษาข้อดีข้อเสียของปลาแต่ละพันธุ์แต่ละชนิดนะครับ

ปลาตระกูลเบลนนี่ ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 8.5 )
เป็นปลาที่มีรูปร่างยาว ชอบว่ายน้ำสลับกับเกาะไปตามหิน ตามพื้น มีหลายพันธุ์ หลายแบบตามร้านขายปลาทะเลทั่วไป




ปลาตระกูล เบลนนี่
ข้อดี
1.เป็นปลาที่กินอาหารง่าย ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด บางชนิดอาจกินตะไคร่ได้ดี เช่น Bicolour blenny หรือบางชนิดอาจจะกินตะไคร่ตามพื้นทราย
2.สามารถทนสภาวะแวดล้อมต่าง ๆได้ดีและราคาไม่แพงมาก
3.เป็นปลาที่นิสัยสงบ ไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้

ข้อเสีย
1.บางชนิดอาจมีสีสันไม่ค่อยสวยงาม หน้าตาประหลาด
2.อาจดุร้ายกับพวกเดียวกันได้


Sunday 13 February 2011

ปลาไฟร์ฟิช (Firefish)

ปลาทะเลที่เลี้ยงได้ไม่ยากจนเกินไปนัก เหมาะสำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง ซึ่งจะกล่าวถึงข้อดี - ข้อเสีย สำหรับปลาแต่ละตัวไว้สำหรับพิจารณาศึกษาข้อดีข้อเสียของปลาแต่ละพันธุ์แต่ละชนิดนะครับ

ปลาไฟร์ฟิช (Firefish) ( ระดับความยากในการเลี้ยง : 8 )
เป็นปลาตระกูลโกบี้ ลำตัวยาว มีครีบหลังยาวเป็นเอกลักษณ์ สำหรับอีกชนิดที่พบบ่อยคือ Purple firefish ซึ่งมีราคาแพงกว่าเล็กน้อย




Purple Firefish
ข้อดี
1. มีสีสันสวยงาม รูปร่างเป็นเอกลักษณ์
2. เป็นปลาที่กินอาหารง่าย ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด
3. สามารถทนสภาวะแวดล้อมต่าง ๆได้ดีพอสมควร แต่ค่อนข้างอ่อนแอในน้ำที่ไม่มีคุณภาพ
4. เป็นปลาที่นิสัยสงบ ไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้

ข้อเสีย
1. เป็นปลาขี้ตกใจ ถ้าในตู้มีปลาที่ว่ายน้ำเร็วๆ หรือปลาที่ไล่ จะหลบอยู่แต่ในหินไม่ออกมาโชว์ตัว ไม่กินอาหารและอาจกระโดดออกมาจากตู้ทำให้ตายได้ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยสำหรับการเลี้ยงปลาชนิดนี้ ป้องกันได้โดยการหาฝาปิดตู้
2.อาจดุร้ายต่อปลาชนิดเดียวกันยกเว้นถ้าจับคู่แล้ว จึงแนะนำให้เลี้ยงตู้ละ 1 ตัว หรืออาจเลี้ยงหลายตัวได้ถ้าตู้ใหญ่และมีที่หลบมากพอ


Saturday 12 February 2011

ปลาตระกูล dottyback

ปลาตระกูล dottyback (ระดับความยากในเลี้ยง : 8.5)
เป็นปลาตัวเล็กที่มีสีสันฉูดฉาด ที่พบมากได้แก่ ปลาสตอเบอรี่ ปลาแพคคาเนลล่า ( หวานเย็น ) ปลาไดเดรียม่า ปลารอยอลแกรมม่า ซึ่งเป็นปลาที่มีสีชมพูทั้งตัว อาจมีสีเหลืองสลับครึ่งบน ครึ่งล่างแล้วแต่ชนิด

ข้อดี
1. เป็นปลาที่กินอาหารง่ายมาก ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด
2. มีสีสันสวยงาม ฉูดฉาด สะดุดตา
3. เป็นปลาที่ราคาไม่แพงมาก ยกเว้น รอยัลแกรมม่าที่มีราคาค่อนข้างสูง
4. เป็นปลาที่ค่อนข้างทนในหลายๆสภาวะแวดล้อม จัดว่าเลี้ยงง่าย แต่ถ้าอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงบ่อย อาจเป็นจุดขาวได้

ปลาตระกูล dottyback

ข้อเสีย
1. เป็นปลาที่ดุมาก หวงถิ่น ชอบกัดปลาตัวอื่น โดยเฉพาะปลาชนิดเดียวกันอาจกัดจนถึงตายได้ ดังนั้นจึงควรเลี้ยงได้ตู้ละ 1 ตัวเท่านั้น


Friday 11 February 2011

ปลาการ์ตูน

ปลาทะเลที่เลี้ยงได้ไม่ยากจนเกินไปนัก เหมาะสำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง ซึ่งจะกล่าวถึงข้อดี - ข้อเสีย สำหรับปลาแต่ละตัวไว้สำหรับพิจารณาศึกษาข้อดีข้อเสียของปลาแต่ละพันธุ์แต่ละชนิดนะครับ

ปลาการ์ตูน (ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 8.5)
เป็นปลาที่นิยมมากที่สุด มีหลายสายพันธุ์ เช่น ปลาการ์ตูนลายปล้อง ปลาการ์ตูนแดง ปลาการ์ตูนอินเดียนแดง ปลาการ์ตูนมะเขือเทศ เป็นต้น แต่ที่นิยมเลี้ยงส่วนมาก คือ ปลาการ์ตูนส้ม จากการ์ตูนดัง นีโม เนื่องจากเป็นที่คุ้นตามากกว่า ซึ่งปลาการ์ตูนเป็นปลาที่มีลักษณะเฉพาะคือว่ายน้ำบิดไป-มา ทำให้ดูน่ารักเป็นพิเศษ และสามารถเลี้ยงได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีดอกไม้ทะเล ( Anemone ) ซึ่งต้องใช้ไฟจัดในการเลี้ยงเท่านั้น (ไฟ MH หรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ 6 หลอดขึ้นไป)
ปลาการ์ตูน
ข้อดี
1. มีรูปร่างน่ารักสวยงาม สีสันฉูดฉาด สะดุดตา
2. เป็นปลาที่กินอาหารง่ายทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด
3. เป็นปลาที่ค่อนข้างทนในหลายๆสภาวะแวดล้อม จัดว่าเลี้ยงง่าย
4. เป็นปลาที่ไม่ดุร้ายกับปลาชนิดอื่น เลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้ ยกเว้น การ์ตูนบางชนิด
5.มีราคาตั้งแต่ถูก ถึง แพง ขึ้นอยุ่ว่านำเข้าหรือไม่ หรืออาจมีลายที่หาพบได้ยาก

ข้อเสีย
1. เป็นปลาที่ชอบถูกจับยามาจากทะเล ทำให้มาตายในตู้เราโดยไม่รู้สาเหตุ
2. สำหรับ ปลาการ์ตูนแดง ปลาการ์ตูนลายปล้อง และปลาการ์ตูนมะเขือเทศ เป็นปลาที่ดุร้ายมาก หวงถิ่น มักจะกัดปลาการ์ตูนด้วยกัน นอกเสียจากมันจะจับคู่กันแล้ว จึงไม่ควรเลี้ยงปลาการ์ตูนหลายๆชนิดในตู้เดียวกัน นอกจากตู้จะใหญ่ และลงปลาตามลำดับความดุร้าย จากดุร้ายน้อย ไปมาก


Tuesday 8 February 2011

ปลาตะกรับ

ปลาทะเลที่เลี้ยงได้ไม่ยากจนเกินไปนัก เหมาะสำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง ซึ่งจะกล่าวถึงข้อดี - ข้อเสีย สำหรับปลาแต่ละตัวไว้สำหรับพิจารณาศึกษาข้อดีข้อเสียของปลาแต่ละพันธุ์แต่ละชนิดนะครับ

ปลาตะกรับ (ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 10)
ปลาตะกรับเป็นปลาน้ำเค็มชนิดหนึ่ง (Scatophagus argus) มีรูปร่างสั้น แบนข้างและกว้างมาก หัวทู่ ปากเล็ก เป็นปลาที่อาศัยอยู่เป็นกลุ่ม กินอาหารได้ทั้งพืชน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็ก ปลาตะกรับมีหลายชนิด มีหลายสี มีทั้งตะกรับเขียว ตะกรับฟ้า เป็นต้น


ปลาตะกรับ
ข้อดี
1.เป็นปลาที่กินอาหารง่ายมาก ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด
2.สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมได้แทบทุกสภาวะ เลี้ยงง่าย ตายยาก โตเร็ว
3.เป็นปลาที่ราคาถูก หาได้ง่าย
4.เป็นปลาที่ไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงเป็นฝูงได้

ข้อเสีย
1.เป็นปลาที่มีสีสันไม่ฉูดฉาดเท่ากับปลาชนิดอื่น และสีซีดเมื่อโตขึ้น


Monday 7 February 2011

ปลาทะเลสวยงามสำหรับการเลี้ยงเริ่มต้น

ปลาทะเลที่เลี้ยงได้ไม่ยากจนเกินไปนัก เหมาะสำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง ซึ่งจะกล่าวถึงข้อดี - ข้อเสีย สำหรับปลาแต่ละตัวไว้สำหรับพิจารณาศึกษาข้อดีข้อเสียของปลาแต่ละพันธุ์แต่ละชนิดนะครับ

ปลาตระกูลแดมเซล ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 10 )
ปลาชนิดนี้ส่วนมากจะมีสีน้ำเงินที่เราพบเห็นตามท้องตลาด มีหลากหลายชนิดทั้งแดมเซลหางเหลือง,บลูแดมเซล,เลมอนแดมเซล รวมถึงปลาโดมิโน ซึ่งมีสีดำและมีจุดเล็กๆ สีขาว 3 จุดบนตัว และปลาม้าลายที่มีลายขาวสลับดำบนลำตัว

ปลาตระกูลแดมเซล
ข้อดีปลาตระกูลแดมเซล
1.เป็นปลาที่กินอาหารง่ายมาก ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด
2.สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมได้แทบทุกสภาวะ เลี้ยงง่าย ตายยาก
3.เป็นปลาที่ราคาถูก หาได้ง่าย
4.มีสีสันสวยงาม ฉูดฉาด สะดุดตา

ข้อเสียปลาตระกูลแดมเซล
1.เป็นปลาที่ดุมากๆ หวงถื่น ชอบกัดปลาตัวอื่น โดยเฉพาะปลาชนิดเดียวกันอาจกัดจนถึงตายได้ ดังนั้นจึงควรเลี้ยงได้ตู้ละ 1 ตัวเท่านั้น ( ข้อเสียมากๆ ) ยกเว้นนีออนแดมเซลที่ดุน้อยที่สุดและสามารถเลี้ยงได้มากกว่า 1 ตัวในตู้
2.ชอบขุดพื้นเป็นรู ทำให้ทรายฟุ้งกระจาย และอาจทำให้หินในตู้ถล่มได้
3.เป็นปลาที่ว่ายน้ำเร็วมาก หลบเก่ง จึงทำให้จับยากมากเวลาจะเอาออกจากตู้อาจต้องรื้อหินในตู้ทั้งหมดเพื่อทำการจับออก
4.สำหรับโดมิโนและม้าลายจะโตเร็วมาก และจะยิ่งเพิ่มความดุขึ้นเรื่อย ๆ

Sunday 6 February 2011

การเพาะพันธุ์ปลาสลิด

การแพร่ขยายและเพาะพันธุ์ปลาสลิด
1. การคัดเลือกพันธุ์ปลาสลิด ปลาสลิดที่จะใช้เป็น พ่อ-แม่พันธุ์ควรเลือกตัวที่มีขนาดใหญ่ แข็งแรง สมบูรณ์ ไม่มีแผล ครีบและหางไม่แตก ขนาดของปลาที่จะสามารถสืบพันธุ์ได้ ลำตัวจะต้องยาวกว่า 10 เซนติเมตรขึ้นไป แต่ไม่ควรมีขนาดยาวเกินกว่า 20 เซนติเมตร เพราะความปราดเปรียวของปลาที่มีขนาดโตจะน้อยลง อัตราส่วนปลาตัวผู้และตัวเมียที่จะปล่อยลงในบ่อนั้น ควรใข้ตัวเมีย 1 ตัว ต่อตัวผู้ 1 ตัว

2. การจัดให้ปลาสลิดวางไข่ ปลาสลิดจะเริ่มวางไข่ตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงเดือนสิงหาคม หรือในฤดูฝน แม่ปลาตัวหนึ่งจะวางไข่ได้หลายครั้ง ประมาณคราวละ4,000-10,000 ฟอง ดังนั้นการจัดบ่อเพาะเลี้ยงปลาสลิดจึงควรให้เสร็จภายในเดือนมีนาคม

ปลาสลิด
จากการเพาะเลี้ยงพบว่า ถ้าได้จัดบ่อด้วยวิธีการดังกล่าวไปนี้ จะทำให้ลูกปลาสลิดมีโอกาสรอดชีวิตเพิ่มขึ้นอีกมาก
- ระบายน้ำเข้าบ่อผ่านตะแกรงที่มีช่องตาขนาด 1 มิลลิเมตร จนท่วมชานบ่อโดยรอบให้มีระดับสูง 20-30 เซนติเมตร ปลาจะเข้าก่อหวอดวางไข่มากขึ้น ทั้งอาณาเขตบ่อก็จะกว้างขวางกว่าเดิม เป็นการเพิ่มที่วางไข่และที่เลี้ยงตัวของลูกปลามากขึ้น

- สาดปุ๋ยคอกที่ตากจนแห้ง บนบริเวณชานบ่อที่ไขน้ำให้ท่วมขึ้นมาใหม่นั้น ตามอัตราที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นในเรื่องการใส่ปุ๋ย จะทำให้เกิดไรน้ำและช่วยทำให้ผักหญ้าบนชานบ่อเจริญงอกงาม

- ปล่อยให้ผักหญ้าพันธุ์ไม้น้ำขึ้นรกในบริเวณชานบ่อหรือจะปลูกเพิ่มเติมได้ก็จะเป็นการดี เพราะพันธุ์ไม้น้ำซึ่งได้แก่ พวกผักบุ้ง แพงพวย และผักกระเฉด ปลาสลิดจะชอบใช้เป็นทำเลที่ก่อหวอดวางไข่ กิ่ง ใบและก้านของพันธุ์ไม้น้ำเหล่านี้ จะเป็นสิ่งสำคัญในการยึดเหนี่ยวหวอดมิให้ลมพัดกระจัดกระจายไป และเมื่อไข่ปลาฟักออกเป็นตัวแล้ว ก็จะเป็นที่ให้ลูกปลาได้อาศัยเสี้ยงสัตว์ตัวกำบังร่มเงาและหลบหลีกศัตรูได้เป็นอย่างดีจนกว่าจะแข็งแรงหลบหลีกลงน้ำ

3. การวางไข่ ก่อนจะเริ่มวางไข่ ปลาสลิดตัวผู้จะเป็นฝ่ายตระเตรียมการ ขั้นแรกตัวผู้จะเลือกสถานที่ โดยการก่อหวอดไว้ในระหว่างต้นวัชพืชที่โปร่งๆ ไม่หนาทึบเกินไป เพราะปลาสลิดตัวเมียชอบวางไข่ในที่ร่มมากกว่ากลางแจ้ง

Friday 4 February 2011

ปลาสลิด

ลักษณะและการแพร่ขยายพันธ์ปลาสลิด
ลักษณะเพศ ปลาสลิดตัวผู้และตัวเมียแตกต่างกันอย่างมองเห็นได้ชัดคือ ปลาตัวผู้มีลำตัวยาวเรียว สันหลังและสันท้องเกีอบเป็นเส้นตรงขนานกัน มีครีบหลังยาวจดหรือเลยโคนหาง มีสีตัวเข้มและสวยกว่าตัวเมียส่วนตัวเมียมีสันท้องยาวมนไม่ขนานกับสันหลัง และครีบหลังมักมนไม่ยาวจนถึงโคนหาง สีตัวจางกว่าตัวผู้ ในฤดูวางไข่ท้องจะอูมเป่งออกมาทั้งสองข้าง

ฤดูวางไข่ ปลาสลิดสามารถผสมพันธุ์และวางไข่ได้เมื่อมีอายุถึง 7 เดือน ขนาดโดยเฉลี่ยเมื่อเติบโตเต็มที่แล้วจะมีลำตัวยาวประมาณ 6-7 นิ้ว หนัก 130-140 กรัม ฤดูวางไข่นั้นแตกต่างกันออกไปแล้วแต่แหล่งที่ใช้เลี้ยงปลา อย่างไรก็ตาม ปลาสลิดจะเริ่มวางไข่ตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงเดือนสิงหาคม หรือในฤดูฝน แม่ปลาตัวหนึ่งๆ จะสามารถวางไข่หลายครั้งแต่ละครั้งจะได้ปริมาณ 4,000-10,000 ฟอง ลักษณะของไข่ปลาสลิดเป็นสีเหลือง

ปลาสลิด
การให้อาหารปลาสลิด
อาหารที่ปลาสลิดชอบกินคือ ตะไคร่น้ำ รำละเอียด หรือปลาข้าว โดยต้มปนกับผักบุ้งที่หั่นแล้ว รวมทั้งแหนสด และปลวก

ตะไคร่น้ำและไรน้ำเป็นอาหารของลูกปลาในวัยอ่อนอายุตั้งแต่ 7 วัน ถึง 1 เดือน เมื่อปลามีอายุได้ 21 วันแล้ว ควรลองให้รำข้าวอย่างละเอียด ต้นปนกับผักบุ้งที่หั่นละเอียดหรือแหนสด และปลวกบ้าง เพราะลูกปลาบางตัวเจริญเติบโตเร็วจนสามารถกินอาหารดังกล่าวได้

สำหรับผักบุ้งที่ใช้ต้มปนกับรำนั้น ควรใช้ผัก 1 ส่วน รำ 2 ส่วน โดยต้มผักให้เปื่อยเสียก่อน แล้วจึงเอารำลงไปเคล้า ปั้นเป็นก้อน การให้อาหารควรให้เพียงวันละ 2 ครั้ง ในเวลาเช้า โดยจัดวางบนแป้นได้ระดับน้ำ 1 คืบ ควรกะปริมาณอาหารให้ปลากินหมดพอดีในวันหนึ่งๆ ถ้าอาหารให้แน่นอนลงไปเป็นการยากที่จะคำนวณได้ เพราะปลาย่อมเจริญเติบโตขึ้นทุกวัน อาหารที่ให้แต่ละคราวจึงต้องคอมเพิ่มปริมาณให้มากขึ้นอยู่เสมอ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของปลา

การให้อาหารแต่ละครั้ง ควรพยายามให้เป็นเวลา และควรให้อาหารในระหว่างที่อากาศยังไม่ร้อนคือ ในช่วงเช้าและเย็น ก่อนวางอาหารบนแป้นไม้ ควรดีดน้ำให้สัญญาณเสียก่อน ปลาจะได้เชื่องและมีความเคยชิน

Tuesday 1 February 2011

การเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิช

อุณหภูมิในการเลี้ยงเครย์ฟิช
อุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมในการ เลี้ยงกุ้งเครย์ฟิช คือ ประมาณ 23-28 องศาเซลเซียส ค่าพีเอช ที่เหมาะสมคือ ประมาณ 7.5-10.5 แต่หากน้ำมีความกระด้างสูง ก็สามารถใส่เกลือลงไปในตู้ได้ เพื่อเป็นการปรับสภาพน้ำ นอกจากนี้ เกลือยังช่วยเสริมแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อการลอกคราบและสร้างเปลือกใหม่ ด้วย สำหรับการเปลี่ยนถ่ายน้ำ ควรจะเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยๆ แต่ทีละน้อย เพื่อป้องกันอุณหภูมิเปลี่ยนฉับพลัน และน้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำสะอาด

กุ้งเครย์ฟิช สามารถกินอาหารได้เกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นพืชผัก เศษเนื้อสัตว์ หรือให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปชนิดจมก็ได้ เพื่อความสะดวก แต่ไม่ควรให้อาหารบ่อย 2-3 วัน ให้ครั้งหนึ่งก็พอ และควรให้น้อยๆ แต่พอดี เพื่อป้องกันการตกค้างของอาหาร ซึ่งจะทำให้น้ำเน่าเสีย ส่งผลต่อการเกิดโรคได้ และควรให้อาหารในเวลากลางคืน เพราะตามธรรมชาติ กุ้งเครย์ฟิชเป็นสัตว์ที่หาอาหารกินในเวลากลางคืน

กุ้งเครย์ฟิช (Crayfish)
สำหรับการเพาะพันธุ์กุ้งเครย์ฟิชนั้นไม่ยาก เพราะสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี และสามารถขยายพันธุ์ได้ง่าย เพียงนำกุ้งเครย์ฟิชตัวผู้กับตัวเมียมาปล่อยรวมกัน แต่ต้องมั่นใจว่าเป็นตัวผู้กับตัวเมีย โดยสังเกตที่อวัยวะสืบพันธุ์ตรงช่วงขาเดิน กุ้งตัวผู้มีอวัยวะคล้ายตะขอบริเวณขาเดินคู่ที่สองและสาม ซึ่งตะขอนี้เอาไว้เกาะตัวเมียตอนผสมพันธุ์ ส่วนตัวเมียจะมีอวัยวะสืบพันธุ์เป็นแผ่นทรงวงรีบริเวณขาเดินคู่ที่ 3

กุ้งเครย์ฟิช ใช้เวลาผสมพันธุ์นานกว่า 10 นาที หลังจากนั้นสามารถย้ายกุ้งตัวเมียไปยังตู้อนุบาลได้ เพื่อเป็นการเตรียมที่อยู่สำหรับลูกกุ้ง หลังจากนั้น ตัวเมียจะทยอยผลิตไข่ขึ้นมาไว้บริเวณขาว่ายน้ำเป็นกระจุก มองคล้ายพวงองุ่น หลังจากที่ไข่ได้รับการปฏิสนธิแล้วตัวเมียจะหาที่หลบซ่อนนอนนิ่งไม่ยอมกิน อะไร ระยะเวลาที่ตัวอ่อนใช้ในการพัฒนารูปร่างนั้นจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ปริมาณอาหาร และคุณภาพน้ำด้วย โดยเฉลี่ยไข่จะพัฒนาจนเป็นตัวอ่อนเหมือนโตเต็มวัยภายใน 3-4 สัปดาห์ หลังจากนั้น ลูกกุ้งจะถูกปล่อยให้ว่ายน้ำเป็นอิสระ ในการผสมพันธุ์แต่ละครั้งแม่กุ้งสามารถให้กุ้งได้มากถึง 300 ตัว ซึ่งพ่อแม่กุ้งไม่มีพฤติกรรมกินลูกกุ้งเป็นอาหาร และลูกกุ้งก็จะอยู่ไม่ห่างพ่อแม่นัก เพื่อคอยเก็บเศษอาหารที่เหลือจากพ่อแม่กินเป็นอาหารนั่นเอง

กุ้งเครย์ฟิช ที่วัยรุ่นนิยมเลี้ยงคือ กุ้งเครย์ฟิช สโนไวท์ จะเป็นกุ้งสีขาว บลูสปอร์ตเป็นสีฟ้า ไบรต์ออเรนจ์สีส้ม และอะเรนนี่สีน้ำเงิน ราคาที่จำหน่ายในท้องตลาดมีตั้งแต่ 300-2,000 บาท ต่อตัว แต่หากซื้อไปเลี้ยงเป็นคู่ โดยเฉพาะกุ้งเครย์ฟิชสีน้ำเงินหรืออะเรนนี่ จำหน่ายคู่ละ 3,500บาท เพราะสีน้ำเงินเป็นสีที่นิยมและหายากในขณะนี้